ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก
ใน 3 คนมีภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึงคนไทยที่อายุตั้งแต่ 35
ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 22
ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นส่วนที่ทําให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจอีกด้วย ซึ่งการป้องกันด้วยอาหารการกินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง ดังนี้ค่ะ
มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบได้ดี ซึ่งคนจีนและคนเวียดนามจะกินขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ
มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือดให้เส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย
นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมาก ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (Atherosclerosis)
พบว่าในส่วนของใบและราก มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ โดยสามารถนํารากมาต้มกินเป็นซุป, นํายอดมาต้มกิน, นํารากมาต้มกับรากย่านาง กินหรือใช้ยอดมะรุมสด นํามาโขลกคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว จะช่วยลดความดัน ซึ่งเมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่องความดีงามของพืชผักสวนครัวบ้านเรา นอกจากจะทำให้เจริญอาหารแล้วยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคด้วย เจ๋งจริงๆค่ะ!
ที่มา https://www.health-th.com/
1.กระเจี๊ยบแดง
สารแอนโทไซยานินในกระเจี๊ยบแดงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หลอดเลือด จึงสามารถลดความดันโลหิตได้
2.ขึ้นฉ่าย
มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบได้ดี ซึ่งคนจีนและคนเวียดนามจะกินขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ
3.บัวบก
มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือดให้เส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย
4.พลูคาว (ผักคาวตอง)
นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมาก ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (Atherosclerosis)
5.มะรุม
พบว่าในส่วนของใบและราก มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ โดยสามารถนํารากมาต้มกินเป็นซุป, นํายอดมาต้มกิน, นํารากมาต้มกับรากย่านาง กินหรือใช้ยอดมะรุมสด นํามาโขลกคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว จะช่วยลดความดัน ซึ่งเมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่องความดีงามของพืชผักสวนครัวบ้านเรา นอกจากจะทำให้เจริญอาหารแล้วยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคด้วย เจ๋งจริงๆค่ะ!
ที่มา https://www.health-th.com/