วัคซีนโควิดเป็นความหวังในการยับยั้งวิกฤตโควิด 19 แต่หลายคนยังกังวลว่าควรฉีดดีไหม ลองมาไขข้อสงสัยกันว่าใครควรฉีดหรือไม่ควรฉีดบ้าง
วัคซีนโควิด 19 คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหยุดการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ซึ่งถ้าเราฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 70% ขึ้นไปของประชากร ก็จะมีภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) และหยุดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ภายในประเทศได้ หรือหากติดเชื้อขึ้นมาก็จะช่วยลดความเสี่ยงอาการหนักและลดอัตราการเสียชีวิตไปได้เยอะ
โดยในตอนนี้ก็เริ่มมีการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวซึ่งมีความเสี่ยงเป็นโควิด 19 ที่รุนแรง ก็ได้ฉีดวัคซีนกันบ้างแล้ว ทว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่แน่ใจว่าจะฉีดวัคซีนโควิดดีไหม ดังนั้นเรามาดูข้อมูลกันค่ะว่า ใครฉีดวัคซีนโควิดได้ หรือใครยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 บ้าง
ความดันสูง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
เบาหวาน ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
โรคหัวใจ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ให้รอจนกว่าอาการจะคงที่ หรือให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาอีกที
- มีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันและอาการยังไม่คงที่ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
- ความดันโลหิตสูง 160 มิลลิเมตรปรอท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) อยู่
ไขมันในเลือดสูง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
เป็นภูมิแพ้ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ผู้ป่วยมะเร็ง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
โรคอ้วน ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
โรคอ้วนก็จัดเป็น 1 ใน 7 โรคกลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรง
และควรได้รับวัคซีนโควิด 19 เป็นกลุ่มแรก ๆ
โดยคนอ้วนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนจะต้องมีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม
หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 35
ดังนั้นหากไม่มีข้อพึงระวังหรือข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิดอื่น ๆ
ก็สามารถรับวัคซีนโควิดได้เลยค่ะ
โรคไต ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
โรคระบบประสาท โรคลมชัก ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ติดเชื้อ HIV ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
เด็ก ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ผู้สูงอายุ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
เป็นหวัด มีไข้ ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
แพ้ยา แพ้อาหาร ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
หากแพ้ยาบางชนิด หรือแพ้อาหารแบบไม่รุนแรง ที่ไม่ใช่การแพ้สารประกอบตัวเดียวกันกับที่มีในวัคซีนโควิด 19 ก็สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ แต่ในกรณีเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้อาหารอย่างรุนแรง อาจจะต้องให้แพทย์พิจารณาอย่างละเอียดก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด
เคยแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม
ฉีดวัคซีนอื่นพร้อมวัคซีนโควิดได้ไหม
ควรกินยาแอสไพรินก่อนไปฉีดโควิดไหม
เคยติดโควิดแต่หายแล้ว จะฉีดวัคซีนได้ไหม
เช็กลิสต์ 7 โรคที่ต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยเร็ว มีดังนี้
1. โรคมะเร็ง
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้น โรคหอบหืด
4. โรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 5 ขึ้นไป
5. กลุ่มโรคระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคภูมิคุ้มกันระบบประสาท
6. โรคเบาหวาน
7. โรคอ้วน
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเหล่านี้ก่อนได้รับวัคซีนควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังรับประทานยาตัวไหนอยู่หรือไม่ และไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
แม้วัคซีนจะเป็นตัวช่วยยับยั้งการแพร่ระบาด และลดความรุนแรงของอาการ รวมไปถึงอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ทว่าวัคซีนโควิดอาจส่งผลข้างเคียงกับคนบางกลุ่มได้ และจนกว่าจะมีการศึกษาว่าวัคซีนโควิด 19 ปลอดภัยต่อทุกคนจริง ๆ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้ ยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 นะคะ
1. เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี (ยกเว้นวัคซีนของไฟเซอร์)
2. กลุ่มเสี่ยงมีโรคประจำตัว แต่อายุน้อยกว่า 18 ปี
3. มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียส
4. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์
5. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท
6. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องฉีดอินซูลินเข้าเส้นเลือด
7. ผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน หรือยากดภูมิคุ้มกัน
8. ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ที่อาจได้รับความเสี่ยงจากสารประกอบบางอย่างในวัคซีนโควิด เช่น Polyethylene glycol (PEG) หรือ Polysorbate
9. ผู้ที่แพ้อาหารหรือแพ้ยารุนแรง
10. ผู้ป่วยมะเร็งที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดมาไม่เกิน 3 วัน หรือกำลังรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือดยังไม่ถึง 3 เดือน ก่อนฉีดวัคซีน
11. ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่อาการกำเริบและควบคุมอาการได้ไม่คงที่
12. ผู้ป่วย HIV ที่มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสรุนแรงอยู่ควรรักษาจนอาการคงที่ก่อน
13. ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจตอบสนองไม่ดีต่อวัคซีน จึงต้องชั่งประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อ หากพิจารณาแล้วว่าประโยชน์น่าจะมากกว่าก็สามารถให้วัคซีนได้ โดยวัคซีนชนิดเชื้อตายอาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดเชื้อมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีการศึกษาข้อมูลวัคซีนโควิดมากขึ้น ก็อาจจะฉีดได้กับทุกคนโดยไม่มีข้อจำกัด แต่ ณ ขณะนี้ที่ยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัด ผู้ที่อยู่ในกลุ่มข้างต้นก็จำเป็นต้องให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิดเป็นรายบุคคลไปก่อน
คนไทยสามารถจองคิวฉีดวัคซีนโควิดได้ โดยลงทะเบียนตาม 4 ช่องทางนี้
1. Line หมอพร้อม
2. แอปพลิเคชัน หมอพร้อม
3. ติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิหรือประวัติการรักษา
4. ติดต่อ อสม. ในพื้นที่
- ลงทะเบียนหมอพร้อม ฉีดวัคซีนโควิด ฟรี ล่าสุด เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 พ.ค. นี้
- ส่องขั้นตอนลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านแอปฯ หมอพร้อม อีกช่องทางนอกจากไลน์
- วิธีลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับคนไม่มีมือถือ
แม้การฉีดวัคซีนไม่อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่ลดอัตราการเสียชีวิตได้มาก อย่างเมื่อป่วยโควิด 100 คน จะมีอัตราตายถึง 2.2 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าคนฉีดวัคซีนแล้วจะเกิดอาการรุนแรงค่อนข้างมาก เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนแล้วมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมีน้อยกว่า 10 ราย ต่อการรับวัคซีน 1 ล้านเข็มเท่านั้น ดังนั้นอยากให้ไปฉีดวัคซีนโควิด 19 กัน และสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในภาวะป่วยอื่น ๆ ลองปรึกษาแพทย์ที่ติดตามดูแลอาการอยู่ด้วยว่าเราสามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ไหมนะคะ