Home »
สุขภาพกาย
»
มีประโยชน์มากควรอ่าน 17 วิธีแก้ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ เหน็บชาตามร่างกาย
มีประโยชน์มากควรอ่าน 17 วิธีแก้ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ เหน็บชาตามร่างกาย
ข้ออักเสบ ตัวการทำให้เราทรมานจากอาการปวด
ทำให้เราต้องเปิดตู้ยาสามัญประจำบ้าน หยิบยาแก้ปวดมากินบ่อย ๆ
แต่ต่อไปนี้หากมีอาการปวดเกิดขึ้น ขอให้เดินเข้าครัวเลยดีกว่า เชื่อเถอะ
ธรรมชาติช่วยเราได้
ข้ออักเสบเป็นอาการที่เราควรให้ความสำคัญ
เพราะข้ออักเสบอาจทำให้เราเคลื่อนไหวไม่สะดวกเหมือนเดิม
เรื่องอาหารการกินก็ต้องมีข้อจำกัดมากขึ้น
รวมถึงต้องระวังเรื่องการใช้ยาบางชนิดด้วย ซึ่งกระปุกดอทคอมก็มีเทคนิคดี ๆ
ที่จะช่วยให้การบรรเทาปวดข้ออักเสบเป็นเรื่องง่ายมาฝาก
เป็นวิธีที่เน้นใช้พลังบำบัดจากธรรมชาติ รับรองว่าหากนำไปปรับใช้กันดูแล้ว
เราจะพึ่งพาการกินยาปฏิชีวนะลดน้อยลง
คำเรียก “ข้ออักเสบ” ที่เราคุ้นหูกันดีนั้น
ความจริงแล้วเป็นชื่อที่บอกถึงกลุ่มของโรคที่จะทำให้เกิดอาการ ปวด บวม
และข้อแข็ง ซึ่งมีมากกว่า 100 โรค
โดยที่โรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกข้อก็ได้
และเมื่อมีอาการปรากฏขึ้นแล้ว
สามารถมีอาการเรื้อรังและลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย
แม้ว่าโรคข้ออักเสบบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดเป็น ๆ หาย ๆ
แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นแล้วต้องกินยาควบคุมอาการของโรคไปตลอดชีวิต
ฟังดูเผิน ๆ อาจจะน่ากลัว
เพราะโรคข้ออักเสบจะทำเกิดข้อจำกัดบางประการในชีวิตได้ ดังนั้น
เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีดี ๆ ลดปวดโรคข้ออักเสบโดยไม่พึ่งยาอะไรบ้าง
ที่เราพอจะไปปรับใช้กันได้
เช็คด่วน ! ลักษณะอาการปวดข้อที่เตือนว่าควรปรึกษาแพทย์
ก่อนไปทำความรู้จักกับวิธีลดปวดโรคข้ออักเสบ
เราควรมาเช็กให้รู้ว่าเราเข้าข่ายโรคข้ออักเสบบ้างไหม
ซึ่งเป็นข้อมูลจากราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เผยว่า
หากพบว่าตัวเองมักมี 7 อาการต่อไปนี้บ่อยครั้ง ให้สงสัยเอาไว้เลยว่า
คุณอาจเป็นโรคข้ออักเสบ
มีข้อบวม เป็น ๆ หาย ๆ
มีอาการฝืดขัดเป็นเวลานานในตอนเช้า
มีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ ในข้อหนึ่งข้อใด
ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้เป็นปกติ
มีอาการแดงหรือร้อนบริเวณข้อ
มีไข้ น้ำหนักลด หรืออ่อนแรง
อาการในข้อ 1-6 เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์
11 วิธีคลายปวดด้วยพลังสมุนไพร
1. จิบชาขิง
ขิง เป็นสมุนไพรที่จัดว่าเด่นในเรื่องของการบรรเทาอาการปวดข้อ
เพราะมีหลายงานวิจัยที่บอกว่า
ขิงมีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อที่คล้ายคลึงกับยาต้านอักเสบ
ชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS)
ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์นี้ทั้งช่วยบรรเทาอาการปวด
และลดการอักเสบติดเชื้อในร่างกายได้ชะงัดนัก โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
ให้ต้องกังวลเลย
วิธีที่จะได้คุณค่าจากขิงเต็ม ๆ ที่ง่ายที่สุดก็คือ ชาขิง
โดยใช้เหง้าขิงสด ฝานบาง ๆ แช่ลงในน้ำอุ่นประมาณ 15 นาที
จิบอย่างน้อยวันละครั้ง อาการปวดข้อก็บรรเทาลงแล้ว
2. กินคลีนแบบเมดิเตอร์เรเนียนสไตล์
พฤติกรรมการกินอาหารที่มีส่วนทำให้อาการข้ออักเสบของเราดีขึ้นได้
จากผลการวิจัยของประเทศสวีเดนเผยว่า ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้น
ควรหันมาเน้นกินอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ที่ประกอบไปด้วยผักสด ผลไม้สด ธัญพืช
ปลา น้ำมันมะกอก ถั่ว กระเทียม หัวหอมและสมุนไพร
เพราะอาหารสไตล์นี้มีพระเอกอยู่ที่น้ำมันมะกอก ที่มีสารโอลีโอแคนทัล
(Oleocanthal) มีสรรพคุณใกล้เคียงกับยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์
(NSAIDS) โดยที่สารตัวนี้จะไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน
(Prostaglandin) ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและอาการปวด
3. สูดดมน้ำมันหอมระเหย
การสูดดมกลิ่นหอม ๆ ของน้ำมันหอมระเหย ช่วยบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้นได้
จากผลการวิจัยของประเทศญี่ปุ่นเผยว่า
กลิ่นลาเวนเดอร์ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายลง
ทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น อาการปวดต่าง ๆ บรรเทาลง นอกจากนี้
ยังมีข้อมูลงานวิจัยจากประเทศเกาหลี เผยว่า
ผู้ป่วยโรคปวดข้อจะมีอาการบรรเทาลง หากได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นฉุน เช่น มาร์จอแรม (Marjoram) โรสแมรี่ และเปปเปอร์มินต์
4. จิบชาคาโมมายล์
การดื่มชาคาโมมายล์ช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณข้อต่อ
จึงสามารถบรรเทาโรคปวดข้อได้ เพราะในดอกคาโมมายล์นั้นมีสารเทอร์ฟีนอยด์
(Terpenoids) และไอโซฟลาโวนอยด์ (Isoflavonoids) ที่มีคุณสมบัติบรรเทาปวด
ต้านการอักเสบ เราสามารถชงเป็นชาอุ่น ๆ ใช้จิบ หรือจะใช้วิธีแช่เท้าก็ได้
กรณีที่จะทำเป็นน้ำชาสำหรับแช่เท้าก็คือ การใช้ถุงชาโมมายด์ 4 ถุง
แช่ในน้ำร้อนนานประมาณ 20 นาที ยกถุงชาคั้นน้ำให้แห้ง
นำผ้าสะอาดจุ่มลงไปในน้ำชาที่ได้ ใช้ประคบบริเวณที่รู้สึกปวด
5. ดื่มชาเขียวให้ได้วันละ 4 แก้ว
คนรักชาเขียวต้องร้องว้าว !
เพราะการดื่มชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบได้
จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ ในสหรัฐฯ เผยว่า
การดื่มชาเขียวประมาณ 4 แก้วเป็นประจำทุกวันนั้น
ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
เพราะสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลในชาเขียวนั้น ช่วยลดการติดเชื้อ
ป้องกันกระดูกอ่อนไม่ให้ถูกทำลาย
6. กินอาหารที่มีวิตามินซี
วิตามินซีไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนแล้ว
ยังลดสารอนุมูลอิสระที่ทำให้ข้อเสื่อมลงได้ด้วย
จากผลการวิจัยหนึ่งชิ้นพบว่า วิตามินซีมีประโยชน์ต่อคนเป็นโรคปวดข้อ
เพราะวิตามินซีช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
จึงทำให้อาการปวดสามารถบรรเทาลงได้
อาหารที่มีวิตามินซีสูงสามารถหาได้จากผัก และผลไม้รสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้ม
สตรอว์เบอร์รี เมลอน บรอกโคลี และพริกหยวก
7. กินกรดไขมันโอเมก้าทรี
กรดไขมันโอเมก้าทรี ช่วยบรรเทาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณข้อต่อได้
โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้าทรีแบบจัดเต็มอยู่แล้ว
ไม่ต้องมองหาอาหารเสริมโอเมก้าทรีมากินเพิ่มเลย ก็คือ ปลาน้ำทะเลน้ำลึก
เช่น แซลมอน และทูน่า รวมทั้งปลาน้ำจืดไทย ๆ อย่างปลาสวาย ปลาช่อน
นอกจากนี้ยังหาได้จากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันคาโนล่า
อย่างไรก็ตาม กรดไขมันโอเมก้า-6 และไขมันทรานส์
เป็นศัตรูตัวฉกาจของอาการปวดข้อ
เพราะกรดไขมันเหล่านี้จะยับยั้งการผลิตฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน
(Prostaglandin) ที่จะทำให้อาการกำเริบหนักขึ้น
ตัวอย่างอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-6 สูงก็คือ น้ำมันข้าวโพด
8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการสร้างแอนติบอดี้
โรคข้ออักเสบถือเป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ที่ควรต้องระวังเรื่องอาหารที่มีผลต่อการกระตุ้นสร้างแอนติบอดี้ให้ม
าก จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยออสโล ในประเทศนอร์เวย์ เผยว่า
คนป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ควรบริโภคอาหารที่จะทำให้ร่าง
กายกระตุ้นสร้างแอนติบอดี้มากเกินไป เช่น นมวัว ไข่ไก่ ปลาคอด เนื้อหมู
ข้าวโพด ข้าวสาลี ส้ม ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ เนื้อวัว และกาแฟ
เพราะอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัวอะราคิโดนิก
(Arachidonic acid) ออกมามากขึ้น ทำให้อาการปวดข้อกำเริบหนักขึ้นได้
9. พอกด้วยขิง
อย่างที่ได้บอกไว้แล้วในข้างต้นว่า ขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
และบรรเทาอาการปวดข้อได้
แต่หากใครไม่ชอบจิบชาขิงก็สามารถนำขิงมาทำเป็นยาพอกก็ได้
การพอกขิงในบริเวณที่ปวดนั้น ขิงจะออกฤทธิ์โดยปล่อยสารสื่อนำประสาท P
(substance P) ไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เรารู้สึกคลายปวดลง
จากการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 56 คนพบว่า
ขิงช่วยบรรเทาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกบางได้ถึงร้อยละ 55
และบรรเทาอาการปวดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ถึงร้อยละ 74
วิธีการทำสูตรยาพอกขิงง่าย ๆ คือ
เลือกเหง้าขิงสดมีความหนาประมาณ 3 นิ้ว 1 เหง้า
ปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วนำไปบดให้ละเอียด
นำขิงที่บดละเอียดดีแล้วไปผสมกับน้ำมันมะกอก คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
จากนั้นนำไปพอกบริเวณที่รู้สึกปวด ห่อไว้ด้วยผ้าพันเคล็ด (ace bandage) หรือผ้ากอซทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างน้ำออก
ทำได้บ่อยครั้งจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง
10. เพิ่มเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุนลงในอาหาร
เครื่องเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องบรรเทาอาการปวดนั้น ได้แก่ พริกชี้ฟ้า ขิง
ขมิ้น มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการบวม และลดการหลั่งสารเคมีที่ทำให้รู้สึกปวด
จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ
วิธีได้รับคุณค่าจากเครื่องเทศเหล่านี้ก็คือ
ใส่เพิ่มในอาหารที่ทานเป็นประจำ หรือซื้อเป็นเครื่องปรุงรส เช่น ผงขมิ้น
พริกป่น และ ขิงผง เอาไว้เพิ่มรสชาติให้อาหารก็ได้
11. บำรุงร่างกายด้วยแคลเซียม
โรคปวดข้อรูมาตอยด์มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกระดูกของเราด้วย
ดังนั้น
ควรจะเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกายจะได้ไม่เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนตามมา
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้ต่อวัน คนทั่วไปประมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม
แต่ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน (อายุ 50-55 ปี)
ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม โดยอาจเป็นการดื่มนม
หรือรับประทานปลาตัวเล็กตัวน้อยทอดกรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ
เต้าหู้เหลือง กะหล่ำดอก หรือรับประทานยาเม็ดแคลเซียม เป็นต้น
6 ตัวช่วยคลายปวดใกล้ตัว ที่ไม่ควรละเลย
นอกเหนือจากอาหารการกินแล้ว ยังมีตัวช่วยบรรเทาอื่น ๆ
ที่เราสามารถทำได้ทันทีเมื่อรู้สึกปวด
หรือใครจะนำไปทำเป็นกิจกรรมประจำเลยก็ได้ทั้งนั้น
มาดูกันว่าตัวช่วยคลายปวดที่หาได้ใกล้ตัวนี้จะเจ๋งแค่ไหนกัน
1. ประคบร้อน หรือ ประคบเย็น
หลายคนไม่รู้ว่า อาการปวดที่เกิดขึ้นกับเรานั้น ควรประคบร้อนหรือเย็นกันแน่
เรามีคำตอบให้หายสงสัยอยู่ตรงนี้แล้ว จากข้อมูลของศูนย์กายบำบัด
มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า
การใช้ความร้อนและความเย็นนั้นสามารถลดอาการปวดในบริเวณต่างๆ ได้
ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
สังเกตอาการปวดว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง
ประคบเย็น เมื่อได้รับการบาดเจ็บเฉียบพลัน มีอาการบวม
ประคบร้อน เมื่อมีอาการปวดเรื้อรังมานาน หรือเป็น ๆ หาย ๆ ความร้อนจะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ
โรคประจำตัว เพราะความร้อนและความเย็นล้วนมีผลต่ออาการของโรค
โรคความดันโลหิตสูง หากจำเป็นต้องประคบเย็น ต้องระมัดระวังที่สุด
เพราะความเย็นอาจมีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย
ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นได้ รวมถึงอาการผิดปกติบางประการด้วย เช่น
เวียนศีรษะ หน้ามืด
โรคแพ้ความเย็น ไม่ควรประคบเย็น เพราะจะทำให้เกิดผื่นแดงอย่างรุนแรง
โรคมะเร็งที่ยังมีการดำเนินของโรคอยู่ หลีกเลี่ยงการประคบร้อน
โรคที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ป่วย เช่น
โรคเบาหวานที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา หากประคบเย็นหรือร้อนมากเกินไป
หรือนานเกินไป อาจเกิดอันตรายได้
2. ออกกำลังกายในน้ำ
จากผลการวิจัยของไต้หวัน เผยว่า การออกกำลังกายในน้ำ
เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน คล้ายคลึงกับการเต้นแอโรบิก
ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเข่าได้ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ข้อต่อบริเวณสะโพก
และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายทุกส่วน ในขณะเดียวกัน
ผลการวิจัยจากประเทศออสเตรเลียก็มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่า
วิธีออกกำลังที่เหมาะกับคนเป็นโรคปวดข้อก็คือ การว่ายน้ำ
แต่กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคปวดข้อและอายุมากแล้ว อาจว่ายน้ำไม่ไหว
ก็แนะนำให้บริหารกายในน้ำดู เช่น แอโรบิกน้ำ (Aqua Fitness)
แต่ไม่ใช่แค่ผลการวิจัยจากต่างประเทศเท่านั้นที่ยืนยัน
หน่วยงานการแพทย์ในประเทศไทยบ้านเราก็แนะนำ
เห็นได้จากข้อมูลของศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก
คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า
การออกกำลังกายในน้ำเหมาะกับคนที่มีน้ำหนักตัวมาก
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า ข้อเท้า และหลัง รวมถึงผู้สูงอายุด้วย
เพราะน้ำจะช่วยรองรับน้ำหนักตัว ลดแรงกดที่ข้อเท้าและข้อเข่าให้น้อยลง
ช่วยพยุงไม่ให้ล้มได้ง่ายปลอดภัยกว่าการออกกำลังกายบนบก
3. ฟังเสียงเพลง
วิธีผ่อนคลายอาการปวดข้อที่มีผลต่ออารมณ์อันแจ่มใสของเราด้วยก็คือ
การฟังเพลงโปรด
ในขณะที่เราฟังเพลงร่างกายจะกระตุ้นสร้างฮอร์โมนความสุขออกมาคลายอาการ
ตึงเครียด จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้ จากผลการทดลอง Cleveland Clinic
Foundation ในสหรัฐอเมริกา
ได้ทำการวิจัยโดยแบ่งอาสาสมัครที่มีปัญหาเรื่องอาการปวดข้อ ปวดคอ
และปวดหลังออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งได้ฟังเพลงผ่อนคลาย (Relaxing
Song) อีกกลุ่มหนึ่งให้เลือกฟังเพลงที่ชอบ และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้ฟังเพลงใด
ๆ เลย พบว่า อาสาสมัครในสองกลุ่มแรกที่ได้ฟังเพลงนั้น
มีอาการของการปวดลดน้อยลง ไม่มีอาการซึมเศร้า และหดหู่
เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฟังเพลงใด ๆ เลย
เมื่อนำผลการวิจัยในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มที่ได้ฟังเพลงมาเทียบกันดู
พบว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ฟังเพลงที่ตัวเองชอบนั้น มีอาการปวด
อาการซึมเศร้าและอารมณ์หดหู่น้อยลงกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ฟังแต่เพลงบรรเลงอีก
ดังนั้น จากผลการวิจัยนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า
การฟังเพลงที่ตัวเองชอบนั้นสามารถคลายอาการปวดได้ดีที่สุด
4. สัมผัสแสงอาทิตย์อ่อนๆ
แสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้าก็ช่วยให้อาการปวดข้อดีขึ้นได้ จากผลการวิจัย
เผยว่า การได้รับวิตามินดีในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน
ช่วยป้องกันข้อต่อถูกทำร้ายจากโรคข้อกระดูกอักเสบได้
ซึ่งการออกมาสัมผัสกับแสงแดดยามเช้าช่วงประมาณ 7-8 โมง ประมาณ 10-15 นาที
ทำติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์
ก็ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินดีเข้ามาอย่างเพียงพอแล้ว
นอกเหนือจากการยืนรับแสงแดดในตอนเช้าแล้ว
เรายังสามารถเพิ่มวิตามินดีให้ร่างกายได้ด้วยการเน้นกินอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม
เช่น ชีส นมวัว เป็นต้น
5. นวด
เมื่อไรที่มีอาการปวดข้อ ก็ขอให้นึกถึงการนวดเอาไว้ก่อน
เพราะการนวดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนสะดวกขึ้น
คลายอาการตึงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ
และยังเป็นการคลายผังพืดที่หดเกร็งให้คลายตัวด้วย ดังนั้น
ใครที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
แนะนำให้นวดเพื่อผ่อนคลายอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
6. กินอาหารเสริมน้ำมันปลา หรือน้ำมันตับปลา
การกินอาหารเสริมน้ำมันปลา (Fish oil) และน้ำมันตับปลา (Cod Liver oil)
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ จากผลการวิจัยในประเทศอังกฤษพบว่า
ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบร้อยละ 86 ที่กินน้ำมันตับปลาเป็นประจำนั้น
ร่างกายจะเกิดการสร้างผังพืดทำลายกระดูกอ่อนน้อยลงกว่าคนที่ใช้วิธี
กินยาแก้ปวดเป็นประจำ เพราะอาหารเสริมน้ำมันปลา
หรือน้ำมันตับปลานั้นมีไขมัน EPA และ DHA
ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการปวดข้อและข้ออักเสบรูมาตอยด์
อีกทั้งยังบรรจุอยู่ในแคปซูลที่มีปริมาณที่เหมาะสมคือ ประมาณ 300-500
มิลลิกรัม
สูตรน้ำสมุนไพรรักษาอาการปวดต่างๆ
ส่วนผสม
น้ำ 40 %
มะนาว 5%
ใบย่านาง 50%
สับปะรด 5%
วิธีทำ
ปั่นใบย่างแล้วกรองกากทิ้ง….ปั่นสับปะรดเอากากทิ้ง…แล้วนำมารวมกับน้ำใบย่านางที่ปั่นเตรียมไว้แล้ว
หลังจากนั้นเติมน้ำมะนาวลงไป คนๆให้เข้ากันไว้รับประทาน ( ที่เหลือ แช่แย็นไว้ได้ 15-วัน )
ดื่มวันละ 2 ครั้งๆละ 30 ซีซีผสมน้ำ 1 แก้ว ก่อนอาหาร หรือระหว่างวันก็ดีค่ะ
** กลุ่มอาการควรรับประทาน
โรคอ้วน – โรคเก้าท์- ปวดข้อ- เข่าเสื่อม- มีไข้-
เนื้องอกในเต้านม-ในมดลูก- ไขมันในเลือดสูง- อาหารเป็นพิษ-แผลในกระเพาะ-
ภูมิแพ้- ไมเกรน-สิว-ฝ้า-กระสีน้ำตาล- เป็นตะคิวบ่อยๆ- ริดสีดวงทวาร-
ตับแข็ง- ท้องบวมน้ำ- ไทรอยด์- มะเร็งต่างๆ- โลหิตจาง- ตาฟ้าฟาง-
ความดันสูงหรือต่ำเกินไป – ลูคีเมีย -ชาตามแขน ขา – เหงือกอักเสบ –
โรคหัวใจ – กรดไหลย้อน…
แหล่งที่มา : หมอปรียาภา แฟนเพจ ,health.kapook