รู้มั้ย !? ทำไมถึงถ่ายยาก ฉบับคนถ่ายยาก ต้องอ่าน !

📣 ทำไมอึ๊ยากอย่างนี้ 4 วันก็แล้ว อาทิตย์นึงก็แล้ว ทำไมไม่อึ๊สักที !! ทุกคนเคยเกิดอาการแบบนี้กันมั้ยครับ กินอะไรเข้าไปก็ไม่อึ๊เลย ท้องป่อง แน่นท้อง และอึดอัดมว๊าก นอกจากนี้แล้วยังมีผลเสียตามมาเยอะแยะด้วยนะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบขับถ่ายกันดีกว่า ว่าทำไม ฉันไม่อึ๊ซะที !!

รู้มั้ย !? ทำไมถึงถ่ายยาก ฉบับคนถ่ายยาก ต้องอ่าน !


เหตุผลที่ถ่ายยาก 🚽



ถ่ายยาก

  • ลำไส้ใหญ่เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร


ถ่ายยาก

  • ลำไส้ใหญ่เป็นที่เก็บอุจจาระและของเสีย เป็นอวัยวะที่มีระเบยบวินัยมาก ลำไส้ใหญ่จะตรงต่อเวลา เลยทำให้ทุกคนจะปวดอุจจาระเป็นเวลาเดิมอยู่ตลอด


ถ่ายยาก

  • หากเลยเวลาถ่ายแล้วลำไส้จะหยุดบีบตัว ทำให้ความรู้ปวดอุจจาระจะหายไป


อ

  • การไม่ถ่ายนานๆ จะทำให้เกิดการหมักหมมและเน่าเหม็นได้ ทำให้เกิดกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น และเกิดความรู้สึกอึกอัด


ถ่ายยาก

  • นอกจากนี้ถ้าเราไม่ได้ถ่าย ลำไส้จะดูดน้ำจากอุจจาระกลับไปใช้ใหม่


ถ่ายยาก

  • ของเสียเหล่านี้หากมีมากๆ จะไม่ดีต่อร่างกาย จะเข้าไปก่อกวนระบบประสาท อาจก่อให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้


ถ่ายยาก

  • และยังทำให้แบคทีเรียร้ายเจริญเติมโตได้ดีด้วย


ถ่ายยาก

  • โดยแบคทีเรียเหล่านี้จะปล่อยสารพิษออกมาสู่ร่างกาย


ถ่ายยาก

  • สารพิษเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เกิดสิว ผื่นคัน ผิวพรรณไม่ผ่อนใส แถมยังกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งลำไส้ด้วย


ถ่ายยาก

  • และยังทำให้อุจจาระแข็ง เคลื่อนตัวยาก ระบบขับถ่ายแย่ เกิดเป็นอาการท้องผูก

วิธีป้องกันคือ



ถ่ายยาก

  • ทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ลูกพรุน ข้าวโพด แอปเปิล ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น เพื่อจะช่วยเพิ่มเส้นใยการขับถ่าย โดยอาหารที่มีกากมากจะต้านทานการย่อยของน้ำย่อยที่จะไปดูดน้ำภายในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายอุจจาระได้รวดเร็ว แนะนำให้ทานใยอาหาร 20-30 กรัมต่อวัน
  • ฝึกเข้าห้องน้ำขับถ่ายทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร โดยควรนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที ไม่ควรเร่งรีบเกินไป หากรู้สึกปวดอุจจาระให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ากลั้นไว้ เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ เราคงเคยได้ยินคนแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องอื่น ๆ แล้ว การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกด้วย เพราะน้ำจะไปช่วยให้กากอาหารอ่อนตัวลงได้
  • งดดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง แต่จะไปกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ส่งผลให้อาการท้องผูกตามมา


ถ่ายยาก

  • นอกจากนี้ยังควรเพาะพันธุ์ "แบคทีเรียดี" ในลำไส้โดยการทานโปรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์


ถ่ายยาก

  • แบคทีเรียจะช่วยทำให้ลำไส้บีบตัวได้ดี จึงทำให้ถ่ายง่าย


ถ่ายยาก

  • แถมยังกำจัดแบคทีเรียร้ายที่ปล่อยสารพิษใส่ร่างกายเรา

วิธีแก้หากขับถ่ายยาก



ถ่ายยาก

  1. วิ่ง เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ทำงาน
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น ก็จะไปส่งผลให้ลำไส้ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้อาหารส่งผ่านไปได้สะดวก หากนั่งนิ่งอยู่เฉย ๆ ลำไส้ไม่ได้เคลื่อนไหว กากอาหารเหล่านั้นก็จะยิ่งแข็งค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ทั้งนี้ หากไม่มีเวลามาก แนะนำให้เดินออกกำลังกายสัก 20-30 นาทีก็พอจะช่วยให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวแล้ว


ถ่ายยาก

2. เปลี่ยนท่านั่ง เพราะการนั่งถ่ายบนชักโครกทำให้รูทวารถูกบีบและแคบลง เป็นสาเหตุให้เราถ่ายยาก
  • ส้วมนั่งยองจะช่วยทำให้ขับถ่ายได้ง่ายกว่าส้วมชักโครก เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอยู่ในลักษณะตรง ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายและไม่มีอุจจาระเหลือค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ แต่หากที่บ้านมีแต่ส้วมชักโครก แนะนำให้นั่งโค้งตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น หรืออาจหาเก้าอี้มาวางเท้า จะได้ยกเข่าให้สูงขึ้น


ถ่ายยาก

3. ทานอาหารที่ช่วยระบายท้อง เช่น มะขามแขก ลูกพรุน กีวี่
  • มะขามเปียก นำมาขยำกับน้ำสุกประมาณ 3 แก้ว จะได้น้ำมะขามข้น ๆ เติมเกลือลงไป 1 ช้อนกาแฟ แล้วดื่มให้หมดก่อนนอนสัก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยทำให้ถ่ายง่าย หรือหากไม่ได้ท้องผูกมาก ๆ ก็นำมะขามเปียกแกะเมล็ดแล้วมาจิ้มเกลือกินสัก 5-10 ฝัก แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็ช่วยได้
  • มะขามแขก มีฤทธิ์เป็นยาระบายเช่นกัน โดยใช้ใบแห้ง 1-2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 4-5 ฝัก หักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วย นาน 15 นาที ดื่มก่อนนอน ถ้ามีอาการแน่นจุกเสียดให้ใช้ร่วมกับยาขับถ่าย เช่น ขิงแก่ กระวาน หรือกานพูล เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการท้องผูกประจำ แต่ถึงกระนั้นก็ควรระวัง อย่ารับประทานมะขามติดต่อกันนานเกินไป ควรใช้รักษาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราวเท่านั้น เพราะจะทำให้ขาดธาตุโปแตสเซียม และทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้
  • ลูกพรุนแห้ง ให้รับประทานทั้งผล เพื่อจะได้กากอาหาร หรือดื่มเป็นน้ำลูกพรุนก็ได้ โดยควรรับประทานตอนกลางคืนก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรทานมากเกินไป หรือทานบ่อยเกินไป เพราะถึงแม้จะมีกากใยมาก แต่ก็มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง
  • แอปเปิ้ลเขียว มีเส้นใยอาหารมาก สามารถกินทั้งผลหรือปั่นทั้งกากก็ได้ 1 ผล ให้ใยอาหาร 4.4 กรัม


ถ่ายยาก

4. หากถ้าไม่ไหวจริงๆ อาจจะต้องมียาระบาย แต่ไม่ควรกินบ่อย เพราะจะทำให้ลำไส้ขี้เกียจ ไม่ทำงานตามระบบ
  • ยาระบาย หรือยาถ่าย สามารถใช้ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะไม่ได้ช่วยรักษาอาการท้องผูกให้หายขาด แต่กลับยิ่งทำให้ร่างกายไม่ถูกกระตุ้นให้ขับถ่ายตามเวลาที่ควรจะเป็น เพราะลำไส้จะชินต่อยากระตุ้นพวกนี้ หากมีอาการท้องผูกขึ้นมาอีกก็ต้องใช้ยาแรงขึ้นเรื่อย ๆ

วิธีดูแลลำไส้แบบพื้นฐาน



ถ่ายยาก

1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา
2. ดื่มน้ำเยอะๆ
3. เพาะพันธุ์แบคทีเรียดี
4. ทานผักที่มีใยอาหาร

  • เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ยังไม่ต้องแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว (ห้ามดื่มน้ำเย็น) เพราะการดื่มน้ำตอนท้องว่างจะช่วยให้ลำไส้บีบรัดตัวได้ดีขึ้น ทำให้รู้สึกปวดอุจจาระ
  • บริหารร่างกายในตอนเช้า ด้วยการยืนตรง หายใจเข้าลึก ๆ แล้วก้มลง หายใจออก เอามือเท้าเข่าไว้ แขม่วท้องจนเหมือนหน้าท้องติดสันหลัง
  • ขณะนั่งอยู่บนโถส้วม ให้ใช้ฝ่ามือนวดหน้าท้อง โดยวนตามเข็มนาฬิกาหลาย ๆ รอบ แขม่วท้องไว้ด้วย