Home »
Uncategories »
ใครตกงาน ว่างงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง ขอรับเงินได้สูงสุด 45,000 บาท เพียงทำตามง่ายๆ
ใครตกงาน ว่างงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง ขอรับเงินได้สูงสุด 45,000 บาท เพียงทำตามง่ายๆ
ช่วงนี้มีข่าวหลายบริษัทเลิกจ้างพนักงาน หรือปลดหนักงานออก
หลายบริษัทมาก เราจึงมีคำแนะนำดีๆ สำหรับผู้ที่กำลังตกงาน ว่างงาน ลาออก
หรือถูกเลิกจ้าง ซึ่งสามารถไปขอรับเงินทดแทนสูงสุดถึง 45,000 บาท
เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามที่ว่างงานได้ โดยมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ์
ต้องจ่ายเงินสมทบกับประกันสังคมมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
1. สำหรับลูกจ้างที่ลาออกหรือว่าถูกบังคับให้ลาออก
ลูกจ้างจะได้รับเงินก้อนนี้เพียง 13,500 บาทเท่านั้น ประกันสังคมจะจ่าย 30
เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน แต่สูงสุดไม่เกินยอดเงินเดือน 15,000 บาทเป็นเวลา 3
เดือน
2. สำหรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างหรือไล่ออกโดยไม่มีเหตุผล
ลูกจ้างจะได้รับสิทธิเงินก้อนนี้สูงสุดถึง 45,000 บาทเลยทีเดียว
ทางประกันสังคมจะจ่ายให้ 50% ขอเงินเดือน แต่ไม่เกินยอดเงินเดือน 15,000
บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับหลักฐานที่จะต้องใช้ บัตรประชาชน รูปถ่ายจำนวน 1 นิ้ว 1 รูป
สมุดบัญชีธนาคารเงินฝากเท่านั้น ถ้ามีหนังสือเลิกจ้างก็นำไปใช้ด้วย
แต่ถ้าหากไม่มีก็ไม่เป็นไร และที่สำคัญจะต้องยื่นเรื่องภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่ตกงาน ถ้าช้าก็ตัดสิทธิ์โดยทันที
กรณีว่างงาน
1. จ่ายเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
ก่อนการว่างงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย หรือว่ากรณีผู้ประกันตนว่างงาน
เนื่องจากเหตุสุดวิสัย
2. มีระยะเวลาในการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
3. ผู้ประกันตนจะต้องทำการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต
ทางสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันที่ลาออกหรือว่าถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
จึงมีสิทธิที่จะได้รับการทดแทน ในกรณีว่างงานนับตั้งแต่วันที่ 8
ของการว่างงาน
4. จะต้องทำการรายงานตัวกำหนดนัดผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทางเว็บ empui.doe.go.th ของสำนักงานการจัดหางานไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
5. ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
6. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
7. ผู้ว่างงานจะต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้
– ทุจริตต่อหน้าที่ ทำผิดกฎทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้จ้าง
– จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
– ผิดข้อบังคับ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการทำงาน
– ละทิ้งการทำหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดกัน โดยไม่มีเหตุอันควรให้ทราบ
– ประมาท เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างมาก
– ได้รับโทษตามคำพิพากษา
– ต้องไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้
1. กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180
วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดย
คํานวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ําเดือนละ 1,650 บาท
และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น
ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกําหนดระยะเวลา
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30
ของค่าจ้างเฉลี่ย โดย คํานวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ําเดือนละ 1,650 บาท
และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น
ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
3. ในกรณียื่นคําขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง
หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1
ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกัน ไม่เกิน 180 วัน
แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุด
สัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน
ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน
1. แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2.
หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสําเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจาก
งานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสําเนา สปส.6-09
ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่าง งานได้
3. หนังสือหรือคําสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกัน ตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
5. สําเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน
สถานที่ยื่นเรื่อง
1.
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
(เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th) ของสํานักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
และรายงานตัวตามกําหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิ์ในการรับเงิน ทดแทน
2. ยื่นแบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
ได้ที่สํานักงานประกัน สังคม
กรุงเทพมหานครพื้นที่/สํานักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
(ยกเว้น สํานักงาน ใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลา ราชการ 08.30-16.30 น.
หมายเหตุ :
ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่
กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สํานักงานจัดหางานของรัฐ
ต้องยื่นสิทธิ์ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน
หากยื่นสิทธิ์เกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิ์ย้อนหลัง และ
หากยื่นสิทธิ์เป็นวันที่จะได้รับสิทธิ์ไปแล้ว
จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
สำหรับใครที่กำลังว่างงานอยู่
ก็ลองไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านได้เลยนะคะ
อาจจะได้แงินทดแทนมาใช้ระหว่างที่ว่างงานอยู่ก็ได้นะ
ที่มา : สํานักงานประกันสังคม