Home »
Uncategories »
สุ่มตรวจปลาร้าพบโลหะหนัก ตะกั่ว-แคดเมียม-สารกันบูด 15ยี่ห้อ
สุ่มตรวจปลาร้าพบโลหะหนัก ตะกั่ว-แคดเมียม-สารกันบูด 15ยี่ห้อ
เชื่อว่าหลายๆคนคงจะชื่นชอบเมนูอาหารอีสาน ไม่ว่าจะเป็นส้มตำปูปลาร้า
แกงอ่อม หรือเมนูปลาร้าอื่นๆที่ได้กินเมื่อไหร่ก็หน่ำใจทุกครั้ง
และทุกวันนี้มีน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จออกมาวางขายตามท้องตลาดหลากหลายยี่ห้อ
ให้ได้เลือกซื้อเพื่อนำไปปรุงอาหาร ล่าสุดทาง ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ
โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือดำเนินการทดสอบซ้ำในปีนี้
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารและสร้างความมั่นใจในการบริโภค
โดยในครั้งนี้ 2562 เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ตัวอย่าง
เป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6
ตัวอย่าง
ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียมและเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วย
ผลทดสอบตะกั่ว
น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98
พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม
เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98
จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า
ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2
มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน
ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบว่า น้ำปลาร้าปรุงรสตราไทยอีสาน
(ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก831.83 มก./กก. และ
น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑ (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย)
พบปริมาณกรดเบนโซอิก 404.84
มก./กก.ซึ่งปริมาณการใช้สารกันบูดใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์
น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตราน้องพร คือ พบปริมาณ 641.81 มก./กก.
แต่แสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจนว่า
มีการใช้วัตถุกันเสียซึ่งทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ
ไม่เกิน1,000 มก./กก.
อย่างไรก็ตาม
หลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มาก(ไม่ถึง 100 มก./กก.)
คือ
ไม่มากพอที่จะเป็นการตั้งใจใส่เพื่อให้มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลินทรีย์(ปริมาณที่เหมาะต่อการเก็บหรือยืดอายุอาหารคือ
500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้น
เป็นไปได้ว่ามาจากวัตถุดิบที่นำมาผลิต
ซึ่งกรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ
ขณะที่ ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ.2561 โครงการฯ
เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง
เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งพบว่า ผลทดสอบตะกั่ว
ในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่
98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98
จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2
มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.
ยังไงก่อนจะซื้อปลาร้ามารับประทานควร เลือกยี่ห้อที่ได้รับการรับรอง
และเลือกน้ำปลาร้าที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้นนะคะ
เพราะหากรับประทานแบบไม่ปรุงสุก และสะอาดอาจส่งผลกับสุขภาพ
เสี่ยงกับโรคพยาธิ ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ ได้นะคะ