Home »
ทั่วไป
»
รู้เอาไว้ได้ใช้แน่ วิธีปฎิบัติเมื่อตำรวจค้นรถ
รู้เอาไว้ได้ใช้แน่ วิธีปฎิบัติเมื่อตำรวจค้นรถ
รู้เอาไว้ได้ใช้แน่ วิธีปฎิบัติเมื่อตำรวจค้นรถ
สมัยนี้มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
หากวันหนึ่งเราต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ในเรื่องของการไม่ทันคน
ไม่รู้จักการเอาตัวรอด วันนี้เราได้มีความรู้ดีๆมาฝากให้กับทุกคน
ซึ่งเป็นความรู้ทางด้านกฎหมายที่ทุกคนจะต้องรู้ ในการขับขี่รถ
เพื่อไว้เป็นการรักษาตัวและป้องกันตัวเองในวิธีหนึ่ง
เป็นประเด็นที่มีคนถามกันมากในโซเชียลว่า “ถ้าสมมติถูกเจ้าหน้าที่ตรวจค้น เรามีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพและบันทึกวิดีโอไว้ได้หรือไม่…? หรือเราสามารถทำอะไรได้บ้าง…? “
พล.ต.ท. ประวุฒิ ถาวรศิริ อดีตโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า..
” การถ่ายรูป หรือ ถ่ายวีดีโอ ในขณะเจ้าพนักงานตำรวจปฎิบัติหน้าที่
ไม่ว่าจะเป็นการตรวจค้น หรือ จับกุม สามารถทำได้
หากไม่ได้เป็นการขัดขวางการปฎิบัติงานของ จนท.ตำรวจ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ
และ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด โดยมีขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ “
1. ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะค้นรถหรือค้นตัวเรานั้น
เราควรให้เจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัว บัตรเจ้าหน้าที่
เพื่อเป็นการป้องกันตัวเราเอง และ ขอเจ้าที่บันถึงวิดีโอในขณะตรวจ
เพื่อเป็นหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่าย
2. เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจค้นรถของเรานั้น เราควรให้เจ้าหน้าที่แสดงตนเองอย่างเปิดเผย โดยการถอดหมวกหรือหน้ากากที่สวมอยู่ออก
3. เราสามารถทำการถ่ายภาพ หรือทำการบันทึกวิดีโอเอาไว้ได้
โดยไม่ได้เป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
เพราะเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตัวเราเองโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. ซึ่งการบันทึกภาพใดๆไว้นั้น ก็จะเกิดทั้งผลดี และ ผลเสี ยต่อตัวเรา ถ้าเรามีสิ่งของที่ ผิ ด ก ฎ ห ม า ย ก็จะสามารถเป็นหลักฐานในการ เ อ า ผิ ด เราได้ แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งของดังกล่าวก็จะเป็นหลักฐานยืนยันความบริสุทธิ์ได้
5. ขอให้เจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวเป็นผู้ทำการตรวจค้น เพื่อจะได้ถ่ายวีดิโอหลักฐานไว้ได้ทันต่อเหตุการณ์
6. ให้เจ้าพนักงานที่จะทำการตรวจค้น ถลกแขนเสื้อขึ้นให้หมด
รวมถึงกางกระเป๋ากางเกง และ แบมือให้ดู
พร้อมทั้งบันทึกภาพหรือบันทึกวิดีโอไว้
7. โทรแจ้งญาติหรือคนใกล้ชิดให้ได้เร็วที่สุดให้มาหาเรา หรือ
หากรู้จักนักข่าวก็ให้ติดต่อมายังที่เกิดเหตุ
ในกรณีที่คิดว่ามีเหตุการผิดปกติ
8. ถ้าเราถูกควบคุมตัว ถ้าของกลางไม่ใช่ของเรา ห้ามหยิบ ห้ามจับ ห้ามแตะต้อง ขอย้ำ..!!
9. ถ้าเราไม่ผิด อย่าลงชื่อใดๆในเอกสารทั้งสิ้น และ
ถ้าจำต้องลงชื่อในเอกสารใดๆและมีหลายแผ่นนั้นขอให้อ่านช้าๆและอ่านให้เข้าใจแต่ละหน้า
ซึ่งถ้าถ้อยคำหรือข้อความไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง
ต้องขอให้แก้ไขให้เสร็จสิ้นเสียก่อนแล้วจึงลงชื่อย่อๆแต่ละหน้าๆเพื่อป้องกันการแก้ไข
หรือ เพิ่มเติม
10. ถ้าเรา ไม่ได้กระทำความผิดอย่าชี้จุดเกิดเหตุให้ถ่ายภาพ หรืออย่าชี้ของกลาง ถ้าไม่ใช่ของเราอย่าชี้เด็ดขาด
11. ขณะถูกควบคุมให้ญาติ , พี่น้อง , คนไว้วางใจ นั่งเฝ้าจนกว่าจะนำตัวส่งศาล
12. ขณะให้การใดๆร้องขอ จนท. ให้ผู้ซึ่งไว้วางใจ หรือ ทนาย เข้าฟังการสอบสวนจนกว่าจะแล้วเสร็จ
13. ถ้าเราไม่ผิดให้ร้องเรียน เพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชน และหน่วยงานของรัฐหรือใช้สิทธิ์ทางศาลตามกระบวนการยุติธรรม
บทสรุป กรณีอุทธาหรณ์ดังกล่าวข้างต้นนั้น
ท่านสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือพฤติการณ์แต่ละเหตุการณ์
หรือแล้วแต่สถานะการณ์ เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่าน
กฏหมายพื้นฐานที่จะสามารถรักษาสิทธิ์ของเราได้
เป็นสิ่งที่เราควรจะศึกษาความรู้นี้ไว้
เผื่อวันหนึ่งที่เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด จะได้ไหวตัวทัน
สามารถเอาตัวรอดในสถานการณ์และปกป้องสิทธิ์ของเราได้
Cr. ขอบคุณแหล่งที่มา : มีดี แชนแนล , posttoday