แผ่เมตตาหลังทำบุญ ผู้ที่เราเอ่ยถึงจะได้รับผลบุญจริงหรือ

แผ่เมตตาหลังทำบุญ ผู้ที่เราเอ่ยถึงจะได้รับผลบุญจริงหรือ

ถาม: การที่เราตั้งจิตทุกครั้งหลังทำบุญว่า ขอให้บุญนี้จงถึงแก่เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า และเจ้ากรรมนายเวร รวมถึงเจ้าที่เจ้าทางที่บ้าน

ท่านเหล่านั้นจะได้รับจริงหรือไม่ แบบนี้จะเรียกว่าทำบุญแบบหวังผล (ในทางกุศล) หรือไม่ และที่ถูกต้องควรทำอย่างไร แผ่เมตตาหลังทำบุญ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ตอบปัญหาธรรมข้อนี้ว่า

ตอบ: การแผ่เมตตาให้แก่เทวดาเป็นต้นนั้น หากเราทำด้วยจิตอันบริสุทธิ์จริง ๆ ท่านเหล่านั้นก็คงจะได้รับอย่างแน่นอน เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล

ภิกษุกลุ่มหนึ่งลาพระพุทธองค์ไปปฏิบัติธรรมในป่า แล้วถูกเทวดารบกวน ด้วยการแสดงตนเป็นผีมาหลอกหลอน จึงพากันตื่นตกใจ กลับมาเฝ้าพระบรมครู

พระองค์ทรงสอนว่า หากอยากอยู่ในป่าอย่างปลอดภัยก็ขอให้ “แผ่เมตตา” แก่สรรพชีพ สรรพสัตว์ ภิกษุกลุ่มนั้นเรียนวิธีแผ่เมตตาเสร็จแล้ว จึงกลับเข้าป่าไป

ทีนี้ทุกรูปเริ่มแผ่เมตตาจากทางเข้าป่าไปเลยทีเดียว ผลก็คือเทวดาทั้งหลายต่างโมทนาสาธุการ ไม่มากล้ำกรายอีกเลย

นี่คืออานิสงส์ของการแผ่เมตตาด้วยจิตบริสุทธิ์ที่ “ปรารถนาให้เขาอยู่ร่วมกับเราอย่างฉันมิตร”

ส่วนการแผ่เมตตาให้ผู้ต า ย ถ้าเขาเหล่านั้น “อนุโมทนา” (คือ รับรู้แล้วอนุโมทนา) การแผ่เมตตาจึงจะสำเร็จ

การทำบุญแล้วแผ่ส่วนกุศลให้สรรพชีพ สรรพสัตว์นั้นเป็นสิ่งควรทำ เป็นวิธีทำบุญอย่างหนึ่งในวิธีทำบุญ 10 ประการ เรียกว่า “ปัตติทานมัย”

(บุญที่เกิดจากการให้ส่วนบุญ) ส่วนผู้ที่เห็นคนอื่นทำบุญแล้วพลอยโมทนา ไม่ริษยา เรียกว่า “ปัตตานุโมทนามัย” (บุญที่เกิดจากการพลอยอนุโมทนา)

คนที่ทำบุญแล้วไม่แผ่ส่วนบุญให้ใครเลยต่างหาก สมควรถูกตำหนิ เพราะถือว่าใจแคบ การทำบุญแล้วตั้งจิตให้เป็นกุศล เผื่อแผ่ส่วนบุญนั้น เป็นสิ่งที่ควร

อนุโมทนาแท้ แม้การทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาในทางที่ดี ก็เป็นสิ่งควรทำ คุณคงลืมไปแล้วว่า พระพุทธเจ้าของเรานั้นกว่าจะประสบความสำเร็จเป็น

พระพุทธเจ้า พระองค์ก็เคยทำบุญแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็เคยทำบุญแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระอัครสาวก

พระอานนท์พุทธอนุชาก็เช่นกัน การตั้งจิตอธิษฐานหลังทำบุญก็ดี การแผ่ส่วนกุศลให้แก่สัตว์อื่นก็ดี ล้วนเป็นสิ่งควรทำทั้งนั้น แต่ถ้าคุณต้องการยกจิตให้สูงกว่า

นั้น จะทำบุญเฉย ๆ เพื่อฝึกยกใจให้ว่าง ให้สูง จะไม่อธิษฐานอะไรเลยก็ย่อมได้ ทำบุญสักแต่ว่าทำ ไม่หวังผลสำหรับ “อัตตา” ใด ๆ

อีก ถ้าทำด้วยการถือหลักอย่างนี้ก็ได้เช่นเดียวกัน