วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องสิทธิ์การคุ้มครอง
ในการที่เราจ่ายพ.ร.บ.รถยนต์
การที่เราซื้อรถคันหนึ่งมาเป็นของตัวเองแน่นอนอยู่แล้วว่าสิ่งที่ต้องเจอกันทุกคนนั้นคือ
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งทุกคันจะต้องทำประกันนี้ไว้
และทุกครั้งที่จะต้องเสียภาษีต่อทะเบียนรถ จะต้องซื้อ พ.ร.บ.ควบคู่ไปด้วย
เพื่อคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ และเชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันว่า
การที่เราจ่าย พ.ร.บ.รถยนต์
ไปนั้นเราจะสามารถใช้สิทธิ์คุ้มครองได้จริงหรือเปล่า
และการที่เราจ่ายพ.ร.บ.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั้นเราจะสามารถเบิกค่าอะไรได้บ้าง
ลองไปเช็คสิทธิ์กันเลยจ้า
สำหรับ การคุ้มครอง มีดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน
-หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เคลมประกัน จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้กรณีเป็นฝ่ายถูก
1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน 2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
3. สูญเสียอวัยวะ
3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป 300,000 บาท
3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาดสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด 250,000 บาท
3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว 200,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง
สำหรับ เอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลม พ.ร.บ. มีดังนี้
กรณีบาดเจ็บ
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
กรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
กรณีทุพพลภาพ
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
2. ใบมรณบัตร
3. สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องขอเบิกเงิน จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่เราซื้อพ.ร.บ.มา ซึ่งสามารถดูได้ที่กรมธรรม์ และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ สำหรับรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายเงินภายใน 7 วัน โดยพ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สิน หรือ ตัวรถจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
ฉะนั้น ผู้ขับขี่รถยนต์ ควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เราเรียกว่าประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ควรทำไว้เช่นกัน เพื่อประกันความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
สำหรับ การคุ้มครอง มีดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน
-หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เคลมประกัน จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้กรณีเป็นฝ่ายถูก
1. ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน 2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
2. การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
3. สูญเสียอวัยวะ
3.1 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป 300,000 บาท
3.2 สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาดสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด 250,000 บาท
3.3 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว 200,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
5. จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
6. วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
7 วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง
สำหรับ เอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลม พ.ร.บ. มีดังนี้
กรณีบาดเจ็บ
2. ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ
กรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน
2. ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
กรณีทุพพลภาพ
2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
2. ใบมรณบัตร
3. สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องขอเบิกเงิน จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่เราซื้อพ.ร.บ.มา ซึ่งสามารถดูได้ที่กรมธรรม์ และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ สำหรับรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายเงินภายใน 7 วัน โดยพ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สิน หรือ ตัวรถจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
ฉะนั้น ผู้ขับขี่รถยนต์ ควรจะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือที่เราเรียกว่าประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 ก็ควรทำไว้เช่นกัน เพื่อประกันความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น