ภาวะความดันเลือดสูงเป็นภัยเงียบที่อาจจะคร่าชีวิตคุณได้แบบไม่รู้ตัว…อย่าชะล่าใจว่าโรคนี้เกิดกับผู้สูงวัยเท่านั้น
ในปัจจุบันคนอายุน้อยๆ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ (ชาวอังกฤษวัย 20-30 ปี ประมาณ 20 % ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ และทำให้มีอายุสั้นลงราวๆ 4.1 ปี)
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดในการรับมือกับภาวะนี้ คือ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการปรับเปลี่ยนที่ได้ผลที่สุด ก็คือการกิน…การกินเพื่อลดโอกาสที่คุณจะมีภาวะความดันเลือดสูงไม่ยากอย่างที่คิด…เพียงแค่กินอาหารดังต่อไปนี้ก็ช่วยคุณได้
1. แตงโม (ช่วยขยายหลอดเลือด) นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตท ชี้ว่า ‘ร่างกายจะเปลี่ยนกรดอะมิโนในผลไม้ชนิดนี้เป็นอาร์จินีน ซึ่งช่วยควบคุมการขยายตัวของหลอดเลือดแดง และถ้าอยากให้ได้ผลเร็ว แทนที่จะกินทีละชิ้น คุณควรดื่มน้ำแตงโมแทน เพื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของซิทรูลลีน ซึ่งจะเพิ่มระดับอาร์จินีนในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว…แค่ดื่มน้ำแตงโมวันละ 700 มิลลิลิตรก็ได้ผลแล้วค่ะ’
2. เซเลอรี (ลดความเครียด) มหาวิทยาลัยชิคาโกชี้ว่า ‘เซเลอรีอุดมด้วยฟทาไลด์ (Phthalide) หรือสารประกอบ ที่ช่วยขัดขวางไม่ให้ร่างกายผลิตแคทีโคลามีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้หลอดเลือดตีบ’ โดยต้องกินวันละ 7 ก้านจึงจะได้ผล แต่ถ้าขี้เกียจเคี้ยวจะคั้นน้ำ เพื่อทำเป็นสมูทตี้ผสมกับน้ำแตงโมหรือน้ำส้มก็ได้
3.กล้วย (ช่วยสร้างสมดุล) เรารู้ว่าเกลือจะทำให้ความดันเลือดพุ่งสูงขึ้น แต่ก็มีสารที่ช่วยได้ “ถ้าคุณลดเกลือและเพิ่มโพแทสเซียมก็จะลดความดันเลือดได้” ดร.มัลคอล์ม แวนเดนเบิร์ก กล่าว ไตซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในร่างกาย ต้องการโพแทสเซียมกับโซเดียมในอัตราส่วน 3:2 ซึ่งแปลว่าคุณต้องกินกล้วยวันละ 2 ผลเพื่อให้ปริมาณโพแทสเซียมกับโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันสมดุลกัน
4.น้ำมันมะกอก (ทำให้เลือดไหลเวียนดี) Journal of Nutrition ระบุว่า ‘แค่กินน้ำมันมะกอกทุกวัน ก็ช่วยลดค่าความดันเลือดตัวบนได้ตั้ง 3% แล้ว เพราะโอเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจะช่วยลดคอเลสเตอรอล จึงทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก’ และถ้าคุณใส่กระเทียมสดในน้ำสลัดน้ำมันมะกอกด้วยแล้ว สารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมจะช่วยป้องกันไม่ให้มีคอเลสเตอรอลเกาะตามผนังหลอดเลือดแดงได้ด้วย
5.เติมสมุนไพรไทยลดความดันในชีวิตประจำวัน…สาวๆ อย่ามองข้ามพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ นะคะ
“กระเจี๊ยบแดง” มีสาร “แอนโธไซยานิน” (anthocyanins) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด จึงช่วยลดความดันโลหิตได้
“คื่นไฉ่” เป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า 2000 ปี โดยชาวจีนและชาวเวียดนาม แนะนำให้รับประทานคึ่นไฉ่วันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ
“บัวบก” มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอย ไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
“คาวตอง หรือพลูคาว” หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้คาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ในประเทศเกาหลีก็มีการใช้พลูคาวเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (atherosclerosis) และมะเร็ง
“มะรุม” เป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของใบและรากที่มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตอื่นๆ เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B
เครดิต: lacaverne.info
ในปัจจุบันคนอายุน้อยๆ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ (ชาวอังกฤษวัย 20-30 ปี ประมาณ 20 % ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ และทำให้มีอายุสั้นลงราวๆ 4.1 ปี)
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดในการรับมือกับภาวะนี้ คือ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการปรับเปลี่ยนที่ได้ผลที่สุด ก็คือการกิน…การกินเพื่อลดโอกาสที่คุณจะมีภาวะความดันเลือดสูงไม่ยากอย่างที่คิด…เพียงแค่กินอาหารดังต่อไปนี้ก็ช่วยคุณได้
1. แตงโม (ช่วยขยายหลอดเลือด) นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตท ชี้ว่า ‘ร่างกายจะเปลี่ยนกรดอะมิโนในผลไม้ชนิดนี้เป็นอาร์จินีน ซึ่งช่วยควบคุมการขยายตัวของหลอดเลือดแดง และถ้าอยากให้ได้ผลเร็ว แทนที่จะกินทีละชิ้น คุณควรดื่มน้ำแตงโมแทน เพื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของซิทรูลลีน ซึ่งจะเพิ่มระดับอาร์จินีนในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว…แค่ดื่มน้ำแตงโมวันละ 700 มิลลิลิตรก็ได้ผลแล้วค่ะ’
2. เซเลอรี (ลดความเครียด) มหาวิทยาลัยชิคาโกชี้ว่า ‘เซเลอรีอุดมด้วยฟทาไลด์ (Phthalide) หรือสารประกอบ ที่ช่วยขัดขวางไม่ให้ร่างกายผลิตแคทีโคลามีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้หลอดเลือดตีบ’ โดยต้องกินวันละ 7 ก้านจึงจะได้ผล แต่ถ้าขี้เกียจเคี้ยวจะคั้นน้ำ เพื่อทำเป็นสมูทตี้ผสมกับน้ำแตงโมหรือน้ำส้มก็ได้
3.กล้วย (ช่วยสร้างสมดุล) เรารู้ว่าเกลือจะทำให้ความดันเลือดพุ่งสูงขึ้น แต่ก็มีสารที่ช่วยได้ “ถ้าคุณลดเกลือและเพิ่มโพแทสเซียมก็จะลดความดันเลือดได้” ดร.มัลคอล์ม แวนเดนเบิร์ก กล่าว ไตซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในร่างกาย ต้องการโพแทสเซียมกับโซเดียมในอัตราส่วน 3:2 ซึ่งแปลว่าคุณต้องกินกล้วยวันละ 2 ผลเพื่อให้ปริมาณโพแทสเซียมกับโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันสมดุลกัน
4.น้ำมันมะกอก (ทำให้เลือดไหลเวียนดี) Journal of Nutrition ระบุว่า ‘แค่กินน้ำมันมะกอกทุกวัน ก็ช่วยลดค่าความดันเลือดตัวบนได้ตั้ง 3% แล้ว เพราะโอเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจะช่วยลดคอเลสเตอรอล จึงทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก’ และถ้าคุณใส่กระเทียมสดในน้ำสลัดน้ำมันมะกอกด้วยแล้ว สารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมจะช่วยป้องกันไม่ให้มีคอเลสเตอรอลเกาะตามผนังหลอดเลือดแดงได้ด้วย
5.เติมสมุนไพรไทยลดความดันในชีวิตประจำวัน…สาวๆ อย่ามองข้ามพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ นะคะ
“กระเจี๊ยบแดง” มีสาร “แอนโธไซยานิน” (anthocyanins) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด จึงช่วยลดความดันโลหิตได้
“คื่นไฉ่” เป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า 2000 ปี โดยชาวจีนและชาวเวียดนาม แนะนำให้รับประทานคึ่นไฉ่วันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ
“บัวบก” มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอย ไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
“คาวตอง หรือพลูคาว” หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้คาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร ในประเทศเกาหลีก็มีการใช้พลูคาวเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (atherosclerosis) และมะเร็ง
“มะรุม” เป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของใบและรากที่มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตอื่นๆ เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B
เครดิต: lacaverne.info