รางจืด
หรือ ว่านรางจืด ชื่อสามัญ Laurel clockvine, Blue trumphet vine
เป็นพืชที่รู้จักกันดีในจำนวนพืชที่สามารถแก้พิษ
และกำจัดสารพิษในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนได้ขื่อว่าเป็น
“ราชาแห่งการถอนพิษ” นอกจากนั้น
คนโบราณยังนิยมใช้สำหรับแก้พิษจากสัตว์ต่างๆ
มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ อาทิ ไทย และพม่า
บ้านเราพบมากตามป่าดงดิบหรือป่าดิบชื้นทั่วไป แต่ปัจจุบัน
เป็นที่ทราบกันดีว่ามีสรรพคุณเด่นในการขจัดพิษต่างๆ ทั้งพิษจากพืช
พิษจากสัตว์ และพิษจากสารเคมี จึงนิยมนำมาปลูกตามบ้านเรือนทั่วไป
ชื่อท้องถิ่นอื่น ว่า รางเย็น คาย (ยะลา), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์), น้ำนอง (สระบุรี), จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง (ภาคกลาง), ว่านรางจืด เป็นต้น
ลำต้น จะเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้หรือเสารั้ว ขนาดเถาส่วนโคน 0.8-1.5 เซนติเมตร และค่อยๆลดขนาดลงตามความยาวของเถา ส่วนความยาวจะยาวได้มากกว่า 10 เมตร เถามีลักษณะค่อนข้างกลม และเป็นข้อปล้อง เถาส่วนโคนมีสีเขียวอมน้ำตาล เถาอ่อนหรือเถาส่วนปลายมีสีเขียวเข้ม มีขนปกคลุม เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน หักง่าย แต่ค่อนข้างเหนียว แก่นในสุดเป็นเยื่ออ่อนเป็นวงกลม
ใบ ออกเป็นคู่ๆ ซ้าย-ขวา ตามข้อของเถา ก้านยาว 2-4 เซนติเมตร รูปหัวใจแหลม โคนมน ปลายแหลม และมีติ่งแหลมที่ส่วนปลาย กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบใหญ่จะอยู่โคนก้าน และค่อยๆลดขนาดลงตามความยาวของเถา ตัวใบจะมีแผ่นใบ และขอบเรียบ ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่างมีขน มีเส้นใบมี 3 เส้น เป็นร่องตื้น ยาวจากโคนใบมาปลายใบ 2 เส้น และอีก 1 เส้นใบอยู่กลางใบ ยาวจากโคนใบจนถึงปลายสุดของใบ
ดอก ออกเป็นช่อ ตามข้อบริเวณซอกใบ ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอ่อน มีโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว คล้ายรูปแตร ปลายกลีบแยกเป็นแฉกออกเป็นรูปจาน เมื่อดอกบานจะมีขนาด 5-10 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน โดยรางจืดจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ผล ออกเป็นฝัก จะเริ่มติดฝักให้ผลหลังจากที่ดอกร่วงไป ทรงกลมเป็นหลอด กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม และโค้งเล็กน้อยเป็นจะงอยคล้ายปลายปากนก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อแก่ และแห้งเต็มที่จะปริแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดด้านในสีน้ำตาล
“ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน”
2.รางจืดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เถา)
3.ใบและรากของรางจืดมีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ได้ (ใบ, ราก)
4.ใบรางจืดมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ราก)
5.ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ราก)
6.ว่านรางจืดมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ (ใบ, ราก)
7.ช่วยทำลายพิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจัดเป็นสารพิษที่ร้ายกาจที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้เลย เพราะสารพิษชนิดนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถียรขึ้นมา ซึ่งออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตายโดยสารพิษพาราควอตนั้นจะอันตรายที่สุด เพราะจะไปทำให้เนื้อเยื่อในปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้และเสียชีวิตในที่สุด
ซึ่งจากรายงานของโรงพยาบาลศิริราชพบว่าผู้ที่ได้รับสารพิษพาราควอตจะเสียชีวิตทุกราย (อันตราการเสียชีวิตประมาณ 80%) ซึ่งแน่นอนว่ารางจืดสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนงานศึกษาวิจัยของอาจารย์พาณี เตชะเสน และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้น้ำคั้นจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่กินยาฆ่าแมลง 「โฟลิดอล」 พบว่ามันสามารถช่วยแก้พิษได้ โดยช่วยลดอัตราการตายลงเยอะมากจาก 56% เหลือเพียง 5% เท่านั้น และจากงานวิจัยของคุณสุชาสินี คงกระพันธ์ ที่ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดแห้งจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่รับยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า 「มาลาไธออน」 พบว่ามันสามารถช่วยชีวิตหนูทดลองได้มากถึง 30% (ใบ, ราก)
8.ช่วยแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชที่เป็นพิษ เช่น แก้พิษจากแมงดาทะเล ปลาปักเป้า ซึ่งเป็นพิษที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่ายหากได้รับในปริมาณมาก ๆ โดยสารพิษที่ว่านี้คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารแก้พิษนี้โดยเฉพาะ การรักษาต้องรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่การใช้รางจืดเพื่อรักษาพบว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 40 นาทีผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นจนน่าประหลาดใจ (ใบ, ราก)
9.รางจืดช่วยต่อต้านพิษจากสารตะกั่วต่อสมอง ซึ่งสารตะกั่วนี้ก็มาจากมลพิษจากเครื่องยนต์ และแน่นอนว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป โดยพิษจากสารตะกั่วนี้ก็มีผลต่อระบบภายในร่างกายหลายระบบด้วยกัน แต่ที่สำคัญเลยก็คือระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ มีงานวิจัยระบุออกมาว่า แม้รางจืดจะไม่ได้ช่วยลดระดับของสารตะกั่วในเลือดของหนูทดลอง แต่มันก็สามารถช่วยลดพิษของสารตะกั่วต่อระบบความจำและการเรียนรู้ในหนูทดลองได้ สรุปก็คือมันทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลงนั่นเอง (ใบ, ราก)
10.ช่วยถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม (เช่น พิษจากผลไม้ที่ติดอยู่ในฝักที่รับประทาน เป็นต้น) รวมไปถึงพิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง ซึ่งจากการทดลองของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าถ้าหากใช้ผงจากรากรางจืดผสมกับน้ำยาสตริกนินก่อนป้อนให้หนูทดลอง ปรากฏว่าหนูทดลองไม่เป็นอะไร แสดงให้เห็นว่าผงจากรากรางจืดสามารถช่วยดูดซับสารพิษชนิดนี้ไว้ได้ (ใบ, ราก)
11.ช่วยในการลดเลิกยาบ้า ซึ่งงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้าย ๆกับฤทธิ์ของสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนและโคเคน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมามากในขณะที่ผู้ป่วยใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากรางจืดนั้นเกิดความพึงพอใจ เช่นเดียวกับการใช้สารเสพติด และหากนำไปใช้ในการรักษากับผู้ป่วยก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทุรายมากนัก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดและเลิกการใช้เสพติดได้ (ใบ,ราก)
12.รางจืด แก้เมา สรรพคุณช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ พิษจากการดื่มเหล้าในปริมาณมากเกินไป โดยคณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต่อต้านพิษจากแอลกอฮอล์ต่อตับ และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดนั้นสามารถช่วยป้องกันการตายของเซลล์ตับซึ่งเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้มีการศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า และพบว่าสารสกัดจากรางจืดช่วยทำให้ลดภาวะซึมเศร้า ทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในหนูทดลองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากการขาดเหล้าได้ แต่ไม่มีผลต่อการช่วยลดความวิตกกังวล (ใบ, ราก)
13.รางจืด เบาหวาน รางจืดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดันได้ จากงานศึกษาวิจัยของหมอชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำการทดลองในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มจากใบรางจืด ได้ผลว่ามันสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ และพบว่าสารสกัดจากน้ำของใบรางจืดนั้นมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูลดลง และช่วยทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว (การใช้สมุนไพรรางจืดในการรักษาโรคเบาหวานและความดันนั้น ควรรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบัน รวมทั้งมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาวิจัยดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงต้องระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันเองของตัวยาดังกล่าวด้วย)
14.รางจืดมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง โดยสารใด ๆ ก็ตามที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ศักยภาพสูงสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่สำหรับข้อดีของรางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านไม่ให้สารชนิดดังกล่าวออกฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากกวาวเครือ ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการแบ่งตัวและสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น
15.สารสกัดน้ำจากใบรางจืดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
16.ช่วยต่อต้านและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส โดยจากการศึกษาพบว่ารางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูงกว่ามังคุด ถึง 2 เท่า ! และยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนี้สารสกัดจากรางจืดในรูปแบบครีมก็สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเทียบเท่ากับครีมสเตียรอยด์ (ใบ, ราก)
ประโยชน์ของรางจืด
สมุนไพรรางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านได้อีกด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดในปริมาณติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้นต่อไปด้วย
ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยที่เดียว แถมยังมีกลิ่นหอมอีก และยังช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์
การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก แล้วก็ยังสามารถช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงาได้อีกด้วย (แต่อย่าลืมว่ารางจืดเป็นไม้เลื้อย เลื้อยแหลก เลื้อยจนรก เลื้อยแบบไร้การควบคุม)
คำแนะนำ
รางจืด วิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 ใบ (แต่ถ้าใช้สำหรับวัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่าย ๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
การใช้ประโยชน์จากรากรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี (แต่ถ้าหากใช้กับวัวควายให้ใช้ประมาณ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
สำหรับการใช้รางจืดเพื่อถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ใช้ถอนยาพิษ ยาเบื่อ และพิษจากสตริกนินนั้น ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จึงจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดก็จะได้ผลน้อยลงนั่นเอง
รากของรางจืดนั้นจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าที่ใบถึง 4-7 เท่า ! หากเป็นไปได้การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
ข้อสำคัญ ดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืด หากผสมด้วยขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้นรางจืดนั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้นไปอีก
ข้อควรระวังในการใช้รางจืดก็คือ การใช้รางจืดร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ควรจะระวังไว้ด้วย เพราะรางจืดอาจจะไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้นั่นเอง
แม้ว่ารางจืดจะสามารถช่วยล้างสารพิษได้จริง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลในการวิจัยหรือเอกสารใดที่บ่งชี้ได้ว่า หากเราใช้ไปนาน ๆ ติดต่อกัน หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้นักวิชาการทางด้านนี้จึงไม่แนะนำที่จะให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคุณควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เรายังไม่รู้และอาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่เฉพาะแต่สมุนไพรรางจืดเท่านั้น สมุนไพรชนิดอื่นก็ด้วย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วยังไงก็ต้องผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต ดังนั้นหากคุณใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานก็ควรจะตรวจสุขภาพของตับและไตด้วย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ก็ควรจะระมัดระวังด้วยเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
รางจืดผลข้างเคียง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการแพ้รางจืดก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีระดับอาการแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะเป็นแค่ผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง แม้ว่ารางจืดจะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผล หากพิจารณาดูตัวเองหรือได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายมีสารพิษมากเกินไป คุณก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถูกต้อง และถูกเวลา
ขอขอบคุณที่มาจาก : sharesaradee
ชื่อท้องถิ่นอื่น ว่า รางเย็น คาย (ยะลา), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรมราช), ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์), น้ำนอง (สระบุรี), จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง (ภาคกลาง), ว่านรางจืด เป็นต้น
ลำต้น จะเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้หรือเสารั้ว ขนาดเถาส่วนโคน 0.8-1.5 เซนติเมตร และค่อยๆลดขนาดลงตามความยาวของเถา ส่วนความยาวจะยาวได้มากกว่า 10 เมตร เถามีลักษณะค่อนข้างกลม และเป็นข้อปล้อง เถาส่วนโคนมีสีเขียวอมน้ำตาล เถาอ่อนหรือเถาส่วนปลายมีสีเขียวเข้ม มีขนปกคลุม เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน หักง่าย แต่ค่อนข้างเหนียว แก่นในสุดเป็นเยื่ออ่อนเป็นวงกลม
ใบ ออกเป็นคู่ๆ ซ้าย-ขวา ตามข้อของเถา ก้านยาว 2-4 เซนติเมตร รูปหัวใจแหลม โคนมน ปลายแหลม และมีติ่งแหลมที่ส่วนปลาย กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบใหญ่จะอยู่โคนก้าน และค่อยๆลดขนาดลงตามความยาวของเถา ตัวใบจะมีแผ่นใบ และขอบเรียบ ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่างมีขน มีเส้นใบมี 3 เส้น เป็นร่องตื้น ยาวจากโคนใบมาปลายใบ 2 เส้น และอีก 1 เส้นใบอยู่กลางใบ ยาวจากโคนใบจนถึงปลายสุดของใบ
ดอก ออกเป็นช่อ ตามข้อบริเวณซอกใบ ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอ่อน มีโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว คล้ายรูปแตร ปลายกลีบแยกเป็นแฉกออกเป็นรูปจาน เมื่อดอกบานจะมีขนาด 5-10 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน โดยรางจืดจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ผล ออกเป็นฝัก จะเริ่มติดฝักให้ผลหลังจากที่ดอกร่วงไป ทรงกลมเป็นหลอด กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม และโค้งเล็กน้อยเป็นจะงอยคล้ายปลายปากนก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อแก่ และแห้งเต็มที่จะปริแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดด้านในสีน้ำตาล
“ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน”
สรรพคุณของรางจืด
1.รากและเถาของรางจืดสามารถใช้รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก, เถา)2.รางจืดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เถา)
3.ใบและรากของรางจืดมีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ได้ (ใบ, ราก)
4.ใบรางจืดมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ราก)
5.ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ราก)
6.ว่านรางจืดมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ (ใบ, ราก)
7.ช่วยทำลายพิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจัดเป็นสารพิษที่ร้ายกาจที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้เลย เพราะสารพิษชนิดนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถียรขึ้นมา ซึ่งออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตายโดยสารพิษพาราควอตนั้นจะอันตรายที่สุด เพราะจะไปทำให้เนื้อเยื่อในปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้และเสียชีวิตในที่สุด
ซึ่งจากรายงานของโรงพยาบาลศิริราชพบว่าผู้ที่ได้รับสารพิษพาราควอตจะเสียชีวิตทุกราย (อันตราการเสียชีวิตประมาณ 80%) ซึ่งแน่นอนว่ารางจืดสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนงานศึกษาวิจัยของอาจารย์พาณี เตชะเสน และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้น้ำคั้นจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่กินยาฆ่าแมลง 「โฟลิดอล」 พบว่ามันสามารถช่วยแก้พิษได้ โดยช่วยลดอัตราการตายลงเยอะมากจาก 56% เหลือเพียง 5% เท่านั้น และจากงานวิจัยของคุณสุชาสินี คงกระพันธ์ ที่ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดแห้งจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่รับยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า 「มาลาไธออน」 พบว่ามันสามารถช่วยชีวิตหนูทดลองได้มากถึง 30% (ใบ, ราก)
8.ช่วยแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชที่เป็นพิษ เช่น แก้พิษจากแมงดาทะเล ปลาปักเป้า ซึ่งเป็นพิษที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่ายหากได้รับในปริมาณมาก ๆ โดยสารพิษที่ว่านี้คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารแก้พิษนี้โดยเฉพาะ การรักษาต้องรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่การใช้รางจืดเพื่อรักษาพบว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 40 นาทีผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นจนน่าประหลาดใจ (ใบ, ราก)
9.รางจืดช่วยต่อต้านพิษจากสารตะกั่วต่อสมอง ซึ่งสารตะกั่วนี้ก็มาจากมลพิษจากเครื่องยนต์ และแน่นอนว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป โดยพิษจากสารตะกั่วนี้ก็มีผลต่อระบบภายในร่างกายหลายระบบด้วยกัน แต่ที่สำคัญเลยก็คือระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ มีงานวิจัยระบุออกมาว่า แม้รางจืดจะไม่ได้ช่วยลดระดับของสารตะกั่วในเลือดของหนูทดลอง แต่มันก็สามารถช่วยลดพิษของสารตะกั่วต่อระบบความจำและการเรียนรู้ในหนูทดลองได้ สรุปก็คือมันทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลงนั่นเอง (ใบ, ราก)
10.ช่วยถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม (เช่น พิษจากผลไม้ที่ติดอยู่ในฝักที่รับประทาน เป็นต้น) รวมไปถึงพิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง ซึ่งจากการทดลองของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าถ้าหากใช้ผงจากรากรางจืดผสมกับน้ำยาสตริกนินก่อนป้อนให้หนูทดลอง ปรากฏว่าหนูทดลองไม่เป็นอะไร แสดงให้เห็นว่าผงจากรากรางจืดสามารถช่วยดูดซับสารพิษชนิดนี้ไว้ได้ (ใบ, ราก)
11.ช่วยในการลดเลิกยาบ้า ซึ่งงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้าย ๆกับฤทธิ์ของสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนและโคเคน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมามากในขณะที่ผู้ป่วยใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากรางจืดนั้นเกิดความพึงพอใจ เช่นเดียวกับการใช้สารเสพติด และหากนำไปใช้ในการรักษากับผู้ป่วยก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทุรายมากนัก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดและเลิกการใช้เสพติดได้ (ใบ,ราก)
12.รางจืด แก้เมา สรรพคุณช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ พิษจากการดื่มเหล้าในปริมาณมากเกินไป โดยคณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต่อต้านพิษจากแอลกอฮอล์ต่อตับ และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดนั้นสามารถช่วยป้องกันการตายของเซลล์ตับซึ่งเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้มีการศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า และพบว่าสารสกัดจากรางจืดช่วยทำให้ลดภาวะซึมเศร้า ทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในหนูทดลองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากการขาดเหล้าได้ แต่ไม่มีผลต่อการช่วยลดความวิตกกังวล (ใบ, ราก)
13.รางจืด เบาหวาน รางจืดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดันได้ จากงานศึกษาวิจัยของหมอชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำการทดลองในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มจากใบรางจืด ได้ผลว่ามันสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ และพบว่าสารสกัดจากน้ำของใบรางจืดนั้นมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูลดลง และช่วยทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว (การใช้สมุนไพรรางจืดในการรักษาโรคเบาหวานและความดันนั้น ควรรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบัน รวมทั้งมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาวิจัยดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงต้องระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันเองของตัวยาดังกล่าวด้วย)
14.รางจืดมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง โดยสารใด ๆ ก็ตามที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ศักยภาพสูงสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่สำหรับข้อดีของรางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านไม่ให้สารชนิดดังกล่าวออกฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากกวาวเครือ ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการแบ่งตัวและสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น
15.สารสกัดน้ำจากใบรางจืดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
16.ช่วยต่อต้านและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส โดยจากการศึกษาพบว่ารางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูงกว่ามังคุด ถึง 2 เท่า ! และยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนี้สารสกัดจากรางจืดในรูปแบบครีมก็สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเทียบเท่ากับครีมสเตียรอยด์ (ใบ, ราก)
ประโยชน์ของรางจืด
สมุนไพรรางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านได้อีกด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดในปริมาณติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้นต่อไปด้วย
ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยที่เดียว แถมยังมีกลิ่นหอมอีก และยังช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์
การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก แล้วก็ยังสามารถช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงาได้อีกด้วย (แต่อย่าลืมว่ารางจืดเป็นไม้เลื้อย เลื้อยแหลก เลื้อยจนรก เลื้อยแบบไร้การควบคุม)
คำแนะนำ
รางจืด วิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 ใบ (แต่ถ้าใช้สำหรับวัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่าย ๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
การใช้ประโยชน์จากรากรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี (แต่ถ้าหากใช้กับวัวควายให้ใช้ประมาณ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
สำหรับการใช้รางจืดเพื่อถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ใช้ถอนยาพิษ ยาเบื่อ และพิษจากสตริกนินนั้น ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จึงจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดก็จะได้ผลน้อยลงนั่นเอง
รากของรางจืดนั้นจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าที่ใบถึง 4-7 เท่า ! หากเป็นไปได้การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
ข้อสำคัญ ดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืด หากผสมด้วยขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้นรางจืดนั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้นไปอีก
ข้อควรระวังในการใช้รางจืดก็คือ การใช้รางจืดร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ควรจะระวังไว้ด้วย เพราะรางจืดอาจจะไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้นั่นเอง
แม้ว่ารางจืดจะสามารถช่วยล้างสารพิษได้จริง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลในการวิจัยหรือเอกสารใดที่บ่งชี้ได้ว่า หากเราใช้ไปนาน ๆ ติดต่อกัน หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้นักวิชาการทางด้านนี้จึงไม่แนะนำที่จะให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคุณควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เรายังไม่รู้และอาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่เฉพาะแต่สมุนไพรรางจืดเท่านั้น สมุนไพรชนิดอื่นก็ด้วย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วยังไงก็ต้องผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต ดังนั้นหากคุณใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานก็ควรจะตรวจสุขภาพของตับและไตด้วย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ก็ควรจะระมัดระวังด้วยเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
รางจืดผลข้างเคียง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการแพ้รางจืดก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีระดับอาการแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะเป็นแค่ผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง แม้ว่ารางจืดจะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผล หากพิจารณาดูตัวเองหรือได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายมีสารพิษมากเกินไป คุณก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถูกต้อง และถูกเวลา
ขอขอบคุณที่มาจาก : sharesaradee