ดอกแค เป็นยาโดยแท้ กินแก้ไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันพอกตับ รักษาโรคเกาต์

เรานิยมนำ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกแค และฝักอ่อน ลวกน้ำร้อนใช้กินร่วมกับน้ำพริกกะปิหรือน้ำพริกปลาร้า

ดอกอ่อนนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้มดอกแค แกงจืดดอกแค ดอกแคผัดหมูหรือกุ้ง และดอกแคชุบแป้งทอดกินกับน้ำพริก ทั้งนี้มักจะเอาเกสรตัวผู้ออก จากดอกแคก่อนใช้ประกอบอาหารเพื่อลดความขมนะ…

หมอแผนโบราณ จะต้มใบแคสด ดื่มแก้โรคเกาต์ ปวดตามข้อ ใบอ่อนของแคมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก บำรุงสายตา ป้องกันโรคต้อ

การวิจัยของประเทศอินเดียพบว่า สารสกัดเอทานอลของใบแคมีฤทธิ์ป้องกันการถูกทำลายของตับจากสารเคมี สารกันเสีย อาหารแปรรูป สุรา ได้เป็นอย่างดี

ใครที่มีภาวะตับอักเสบ ไขมันพอกตับ มีอาการปวดเสียดชายโครงด้านขวา ท้องอืดประจำ อาหารไม่ย่อย มีลมในกระเพาะ ลำไส้มาก ลองทานอาหารจากดอกแคบ่อยๆแต่ถ้าจะทานเป็นยาไม่ต้องเด็ดเกสรตัวผู้ออกนะครับ เพราะยาดีอยู่ที่นี่

ส่วนใครมีภาวะไขมันพอกตับ ไตรกลีเซอไรด์สูง หมอแนะนำให้ทานยาประสะเจตและตรีผลามหาพิกัดครับ ทานติดต่อกัน 3 เดือนแล้วลองตรวจเลือดดูนะครับ


ประโยชน์แต่ละส่วนของต้นแค
1. ดอกและยอดอ่อน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน บำรุงสายตา กระดูกและฟัน
2. เปลือก แก้อาการปวดฟัน รักษาปากเปื่อย ปากเป็นแผล รักษาโรคท้องร่วง ท้องเดิน โรคบิด เป็นต้น
3. ใบ ช่วยขับพยาธิ บำรุงตับ เป็นยาระบายแบบอ่อนๆ นำมาตำเพื่อพอกลดอาการผิวหนักฟกช้ำได้ อีกทั้งสามารถนำมาเป็นอาหารเลี้ยงโค กระบือได้
4. ราก ลดการอักเสบ โดยนำรากสดมาต้มดื่ม
5. ต้นแค ช่วยบำรุงและปรับปรุงสภาพดินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากที่ปมรากมีจุลินทรีย์ ช่วยผลิตปุ๋ย
6. ลำต้น ใช้เพาะเห็ดหูหนู และนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงได้
7. ​ดอก ยอด และฝักอ่อน นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้มดอกแค ดอกแคชุบแป้งทอด แกงเหลือง ดอกแคผัดกุ้ง เป็นต้น

ก่อนกิน “ดอกแค” ใส่ใจสักนิด

“ดอกแค” อาจเป็นเครื่องเคียงจิ้มน้ำพริกที่อร่อยถูกปาก ด้วยรสเย็นที่ช่วยดับความเผ็ดร้อน และความหอมของมัน แต่ก็มีข้อควรพึงระวังอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะการนำมากินทั้งดอกจะต้องเอาเกสรของดอกแคออกเสียก่อน จะช่วยลดความขมลงได้ บางคนสงสัยว่ากินแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน บ้างก็อร่อยดี บ้างก็ขมไป ส่วนที่ขมเกิดจากเกสรของมันนั่นเอง ดังนั้นเมื่อเอาเกสรออกแล้วต้องนำไปลวกจะช่วยลดความเหม็นเขียว และรสฝาดของเกสรออกไปได้ แต่บางคนชอบกินรสขมๆ แบบนี้จะไม่เด็ดเกสรออกก็ได้ไม่ว่ากัน

แต่ก็มีข้อห้ามบางประการที่กินดอกแคมากๆ อาจอาเจียนออกมาได้ เพราะเป็นพืชเย็นที่ดูดน้ำในท้องเยอะ อาจทำให้ขย้อนออกมาได้ง่าย ส่วนวิธีการเลือกก็ไม่ยาก ยอดอ่อน รวมไปถึงใบอ่อนของดอกแคจะมีคุณภาพมากๆ ในช่วงหน้าฝน ส่วนการเลือกดอกแคจะหน้าไหนก็ได้แต่ดีที่สุดคือหน้าหนาว ดอกจะอวบอูมเต็มที่


สูตรลับ “แกงส้มดอกแค” วิตามินอัดแน่นเต็มชาม!

สุดท้ายขอจบด้วยสูตรอาหารที่มีดอกแคเป็นตัวเอก ถ้าขาดดอกแคไปจะเรียกว่าไร้เสน่ห์เอามากๆ กับอาหารไทยพื้นบ้าน “แกงส้มดอกแค” ที่ทั้งอร่อยและมีวิตามินอัดแน่นเต็มชาม ใครชอบกินผักต้องไม่พลาดเมนูนี้ เคล็ดลับของแกงส้มดอกแค คือเลือกเอาดอกแคอ่อนๆ จะยิ่งอมน้ำแกงได้ดี เพิ่มเติมเนื้อปลาช่อนจะยิ่งได้ความอร่อยและกลิ่นที่หอมมากยิ่งขึ้น เคล็ดลับอยู่ที่การเติมน้ำซุปลงไปก่อนเติมน้ำมะขามเปียกและตามด้วยน้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ สุดท้ายเพิ่มความเค็มด้วยน้ำปลา มากน้อยตามชอบ เท่านี้ก็จะได้ “แกงส้มดอกแค” รสชาติดีเอาไว้กินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยจนอดใจไม่ไหวได้ทั้งความอร่อยและสรรพคุณ ประโยชน์ของดอกแคแบบจัดเต็มแบบนี้ เห็นทีนักเขียนต้องรีบไปหาดอกแคมาแกงส้มสักถ้วยซะแล้ว

เพียงแค่นี้ แค่คุณรู้จักทานอาหาร เลือกทานสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สุขภาพร่างกายของคุณก็จะแข็งแรง โดยที่ไม่ต้องพึ่งยา…

ขอบคุณข้อมูลจาก : คลินิกสมุนไพรหมอศุภการแพทย์แผนไทย , sukkaphap-d