วิธีลดอาการเจ็บแน่น-ปวดหู ปัญหาการโดยสารเครื่องบิน

การเดินทางโดยเครื่องบินได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีความปลอดภัยสูง แต่การเดินทางดังกล่าวอาจส่งผลต่อสุขภาพผู้โดยสารได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย คือ อาการแน่น ปวดหู และการบาดเจ็บของหู จากการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศอย่างกะทันหัน

วิธีลดอาการเจ็บแน่น-ปวดหู

อาการเจ็บแน่นหู

การเจ็บแน่นหูเป็นที่กังวลต่อผู้เดินทางโดยเครื่องบินเป็นประจำ โดยเฉพาะลูกเรือ และนักบิน แม้ว่าใช้ยาพ่นจมูก และปรับความดันในหูชั้นกลางด้วยวิธีต่างๆ เช่น เพิ่มความดันบริเวณด้านหลังช่องปาก และโพรงจมูก (Valsalva maneuver) เพื่อเปิดท่อระบายอากาศ ที่เชื่อมต่อไปที่หูชั้นกลางแล้ว แต่อาการแน่นหูยังไม่หาย

วิธีแก้ไขอาการเจ็บแน่นหู

เคี้ยวหมากฝรั่ง

การแก้ไขจึงต้องปรับความดันในหู เช่น อมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง และทำ Valsalva เพื่อปรับแรงดันในหูชั้นกลางให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก หากปล่อยความดันอากาศแตกต่างกันมาก เช่น เผลอนอนหลับระหว่างเครื่องบินลดระดับลง จนมีอาการปวดหู วิธีปรับความดันปกติอาจไม่ได้ผล จึงต้องทำ Valsalva ช่วยปรับความดัน ก่อนที่จะเกิดการบาดเจ็บในหูชั้นกลาง (Barotrauma)

การกลั้นหายใจ

นอกจากนี้ การทำ Eustachain Tube โดยหายใจเข้า คือ กลั้นหายใจแล้วใช้นิ้วมือบีบจมูก ปิดปากแน่น แล้วเบ่งลมหายใจออก ให้อากาศถูกดันไปหูชั้นกลาง จนได้ยินเสียงเปิดของท่อแล้วกลืนน้ำลาย อาการปวดหูจะดีขึ้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงระดับความสูง มีผลให้ความดันบรรยากาศลดลง และการลดระดับความสูงมีผลตรงกันข้าม คือความดันเพิ่มขึ้น

ภาพจาก www.fabhow.com

ความดันในห้องโดยสาร

แม้เครื่องบินจะบินในความสูง 40,000 ฟุต (12,000 เมตร) แต่ความดันในห้องโดยสาร ได้ถูกปรับเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร ซึ่งปกติความดันจะอยู่ที่ระดับความสูง 6,000-8,000 ฟุต (1,800-2,400 เมตร) ขึ้นอยู่กับชนิดเครื่องบิน

ภาพจาก วิกิพีเดีย

ขณะเครื่องบินไต่ระดับขึ้น…

ขณะเครื่องบินไต่ระดับขึ้น แรงดันบรรยากาศภายนอกจะน้อยกว่าในหูชั้นกลาง อากาศจึงไหลออกง่าย เมื่อเครื่องบินลง แรงดันในหูชั้นกลางที่มีน้อยจึงไม่สามารถดันอากาศจากภายนอกได้ การไหลของอากาศออกจากหู ไปที่หลังโพรงจมูกจะทำได้ง่ายกว่า การไหลของอากาศเข้าสู่หูชั้นกลาง
ดังนั้น เวลาอากาศขยายตัว (แก้วหูโป่งออก) ขณะเครื่องบินไต่ระดับจึงไม่มีปัญหา เท่ากับขณะลดระดับลงสู่พื้น (แก้วหูยุบตัวลง) ที่จะรู้สึกแน่นหู จนต้องอ้าปากหาว, ปิดจมูกและกลืนน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง และกลืนน้ำลายบ่อยๆ โดยต้องทำไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ก่อนหรือเริ่มแน่นหู อย่ารอจนปวดหูแล้วค่อยทำ เพราะความดันที่ต่างกันมากขึ้น จะไปเปิดท่อระบายอากาศให้ยากขึ้น จนต้องทำ Valsalva เพื่อเปิดทางระบายอากาศเข้าสู่หูชั้นกลาง ซึ่งต้องทำ 2-3 ครั้งแล้วกลืนน้ำลายตามทุกครั้ง
หากเครื่องบินตกหลุมอากาศ หรือลดระดับอย่างเร็ว อาจเกิดแรงดันลบในหู จนแก้วหูถูกกระชาก เลือดออกบนแก้วหู หรือในหูชั้นกลาง จะมีอาการปวดมาก ควรรีบพบแพทย์ทันที

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพ ร.พ.กรุงเทพ ภาพจาก blog.klm.com