Home »
ทั่วไป
»
โอกาสเด็กวิทย์ 7 หลักสูตรภาคพิเศษยุคดิจิทัล จบแล้วมีงาน
โอกาสเด็กวิทย์ 7 หลักสูตรภาคพิเศษยุคดิจิทัล จบแล้วมีงาน
ต้องยอมรับเลยว่าปัจจุบันเด็กที่จบปริญญาตรีจำนวนมากตกงาน
ว่างงาน ผลสำรวจการทำงานของประชากร พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 3.85 แสนคน
คิดเป็นอัตราว่างงานในกลุ่มอายุ 25 ขึ้นปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 0.4
และผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ตกงานมากถึง 1.73 แสนคน
ถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก
วันนี้เราจะพาไปดู 7 หลักสูตรภาคพิเศษน่าเรียนในยุคดิจิทัล
มุ่งสู่ฝันกับอาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานในอนาคต
จากทาง SCI-TU หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(มธ.) จะมีสาขาหลักสูตรอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย
1.วิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรของภาคพิเศษ
เป็นหลักสูตรที่เน้นศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน
โดยเฉพาะหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์
เป็นหลักสูตรยอดนิยมได้รับความสนใจจากน้อง ๆ
จำนวนมาก ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม แอปพลิเคชัน และระบบสารสนเทศ
รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่าง AI หรือ Data Science
อาชีพที่ต้องการในตลาดแรงงาน นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z
อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด
เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Youtube Channel
2 . สาขาวิชาสถิติ รับยุคทองของข้อมูล
เป็นหลักสูตรในโครงการพิเศษที่เน้นเรื่องของความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
มาจัดการกับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีทางสถิติ น้อง ๆ
จะได้ทักษะการคิดและจัดการกับข้อมูลจากในหลาย ๆ วิชาที่ให้ฝึกการคิดคำนวณ
เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ในองค์กรต่าง ๆ
ซึ่งสอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันที่เป็นยุคทองของข้อมูล
ดังนั้นหลักสูตรสถิติ เอกสถิติประยุกต์ ของทาง SCI-TU
จึงเป็นหลักสูตรสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการในยุคนี้เป็นอย่างมาก
จากการถ่ายทอดทั้งความรู้และเน้นความชำนาญ
เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความสามารถและก้าวสู่โลกการทำงานได้จริงใน
สำหรับสาขาวิชาสถิติภาคพิเศษ เปิดรับนักศึกษารอบละ 50 คน
3. คณิตศาสตร์ ใครอยากเรียนเอกการเงินต้องมา
สายคณิตศาสตร์และน้อง ๆ
ที่สนใจด้านการเงิน ต้องเรียนหลักสูตรนี้เท่านั้น
โดยหลักสูตรคณิตศาสตร์ภาคพิเศษ ของ SCI-TU
เน้นศึกษาตั้งแต่รากฐานไปจนถึงคณิตศาสตร์ขั้นสูง
ได้เรียนรู้ทฤษฎีและหลักการอย่างลึกซึ้ง เพื่อสามารถวิเคราะห์ วิจัย
หรือค้นคว้าทางด้านวิชาการในระดับประเทศและระดับสากล สำหรับน้อง ๆ
ที่อยากศึกษาต่อเพื่อเป็นครูหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย
ก็สามารถมาเรียนในสาขานี้ได้เช่นเดียวกัน และในภาคพิเศษนี้ ยังมีความพิเศษ
เพราะมีการเปิดสอนหลักสูตรที่ไม่มีในภาคปกติอย่าง
“วิชาเอกคณิตศาสตร์การเงิน” ที่วิเคราะห์ปัญหาด้านการเงินการลงทุนโดยเฉพาะ
สำหรับใครอยากเรียนหลักสูตรนี้สามารถยื่นสมัครหลักสูตรคณิตศาสตร์ในภาคพิเศษ
โดยเปิดรับนักศึกษารอบละ 40 คน
4.คณิตศาสตร์การจัดการ ศาสตร์แห่งการประยุกต์
เป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านการจัดการ
ที่ผสานหลักการทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์
เข้ากับกระบวนการทางด้านการจัดการ เป็นศาสตร์แห่งการประยุกต์
ด้านการเรียนการสอนเน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21
ซึ่งกำลังขาดแคลนคนรุ่นใหม่ ในการคิดวิเคราะห์ จัดระบบ เชื่อมโยงข้อมูล
การวิเคราะห์แบบการจำลองสถานการณ์ การพยากรณ์
การวางแผนและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด
5.วิทยาการประกันภัย ความต้องการตลาดสูง
หลักสูตรนี้น้อง ๆ
จะได้เรียนรู้การวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ประเมินความเสี่ยงในปัจจุบัน
และสร้างตัวแบบเพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต
สำหรับธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย การจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน
การจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก
โดยใช้พื้นฐานของคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การจัดการความเสี่ยง เศรษฐศาสตร์
การบริหาร ธุรกิจ การบัญชีการเงินและกฎหมายมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้ได้เครื่องมือสำหรับการบริหารและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
ให้เกิดความมั่นคงทางการเงินของสังคมส่วนรวม
เกิดสมดุลที่ดีระหว่างการดูแลประโยชน์ทั้งบริษัทและผู้ประกันภัย
โดยหลักสูตรวิทยาการประกันภัย ภาคพิเศษ เปิดรับนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 40 คน
6. หลักสูตรสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล
สำหรับการเปิดหลักสูตรนี้
เพื่อผลิตบัณฑิตตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
โดยมีการเรียนผ่านเทคนิคและเครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence) อันทันสมัย อีกทั้งยังได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ
คอมพิวเตอร์ รวมถึงนวัตกรรม
เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ
เมื่อจบหลักสูตรนี้ไป เป็นได้ทั้งนักวิเคราะห์ข้อมูล วิศวกรข้อมูล
หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งล้วนเป็นอาชีพที่ในตลาดต้องการทั้งสิ้น น้อง ๆ
ที่สนใจสมัครเข้าเรียนต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมหรือ GPAX 2.75
จำนวนที่รับรอบละ 30 คน
7. เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ
สายรักษ์โลกและผู้ที่ชื่นชอบการเรียนเคมี ชีวภาพ
ต้องเรียนเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพหลักสูตรภาคพิเศษของ
SCI-TU เพราะน้องๆ
จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ประยุกต์กับเคมี
และพื้นฐานทางวิศวกรรมเข้าไว้ด้วยกัน
อีกทั้งได้ความรู้และประสบการณ์จริงจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
และได้ร่วมฝึกงานกับองค์กรขนาดใหญ่ตลอด 1 ปีการศึกษา
เรียกได้ว่าจบไปทำงานได้จริง พร้อมทักษะการทำงาน
การแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพในอนาคตเป็นอย่างมาก
โดยสาขาดังกล่าวเปิดรับนักศึกษารอบละจำนวน 20 คน
สำหรับน้องๆ ที่สนใจศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษ ทาง SCI-TU เปิดรับด้วยกัน 2
รอบ ได้แก่ รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน (Admission 1) ระหว่างวันที่ 17 – 27
เมษายน 2563 และรอบที่ 4 รับกลางร่วมกัน (Admission 2) ระหว่างวันที่ 7 –
20 พฤษภาคม 2563 หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้