ความรัก 7 รูปแบบ ตามหลักจิตวิทยา รักของคุณ เป็นแบบไหน

ดร.โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเยลได้สร้างทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก (Triangular theory of love) ขึ้นมา โดยการรวบรวมทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรัก มาวิเคราะห์ไตร่ตรองจนได้ออกมาเป็นทฤษฎีนี้ ความรักทั้ง 7 รูปแบบตามทฤษฎีนี้จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลยจ้า

1. ความหลงใหล

เคยมั้ย เจอหน้าครั้งแรกก็อยากขยับเข้าไปใกล้เธอ

อยากรู้จักตั้งแต่ได้เจอ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ รักแรกพบนั่นเอง

ความรักประเภทนี้จะทำให้ใจเต้นแรง มือไม้สั่น

เหมือนมีผีเสื้อบินอยู่ในท้อง

ความรักประเภทแรกนี้มีแต่ Passion ล้วน ๆ

ไม่มีเรื่องของความผูกพันเข้ามาเกี่ยวข้อง

ความรู้สึกจึงหายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป

2. ความชอบ

ความชอบจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองคนเริ่มมีความสนิทสนมกันมากขึ้น

คุยแล้วรู้สึกดี ไปไหนมาไหนด้วยกัน แต่ไม่ถึงขั้นอยากผูกมัด

ทำให้หลายคนมักจะ ต า ย อยู่แค่ในเฟรนด์โซน

ไม่ได้ข้ามขั้นไปเป็นแฟนสักที

3. รักที่ว่างเปล่า

ความรักประเภทนี้ไม่มีความหลงใหล

ความโรแมนติกเหลืออยู่เลย

มีเพียงเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ

ข้อผูกมัด เช่น ลูก หนี้สิน หรืออื่น ๆ

มักพบในคู่รักที่แต่งงานกันไปสักระยะหนึ่ง

4. รักที่เป็นภาพลวงตา

ความรักประเภทนี้มีทั้งข้อผูกมัดและความใคร่

แต่ไม่มีความสนิทสนม ประเภทที่เจอกันไม่นาน

คบกันไม่ทันไรก็แต่งงานซะแล้ว

เพราะมีความหลงหนักมาก แต่ทั้งคู่ก็พยายามปรับตัวเข้าหากัน

โดยมีเรื่องของข้อผูกมัดเข้ามาเกี่ยวข้อง

เช่น การให้คำสัญญา หรือการแบ่งหน้าที่ในการดูแลบ้าน

ดูแลครอบครัว นักจิตวิทยาเชื่อว่าคู่รักที่มีความรักแบบนี้

จะอยู่ด้วยกันได้เป็นเวลานาน

แต่พวกเขาจะไม่ยอมรับคู่ของตัวเองให้เป็นเพื่อนคู่ชีวิตได้

5. รักโรแมนติก

รักประเภทนี้มีทั้งความใคร่และความสนิทสนม

ฟังดูเหมือนจะเป็นความรักในอุดมคติของหลาย ๆ คน

แต่เมื่อไม่มีเรื่องของข้อผูกมัด

ก็จะทำให้ทั้งคู่มักจะมองแต่ปัจจุบัน ไม่ได้มองถึงอนาคต

ทำให้เสี่ยงต่อการเลิกรากันได้ง่าย ๆ

6. รักที่เห็นใจซึ่งกันและกัน

เป็นความรักที่ประกอบด้วยความสนิทสนมและข้อผูกมัด

แต่ขาดเรื่องของความใคร่

คู่รักประเภทนี้มักจะอยู่กันเหมือนเพื่อนคู่คิด

และจะเกิดขึ้นได้กับคู่รักที่คุ้นเคยกันมานาน

7. รักแท้

นี่ต่างหาก ความรักที่ใคร ๆ ก็อยากมี รักแท้จะมีทั้งความใคร่

ความสนิทสนม รวมถึงข้อผูกมัด พันธะสัญญา

เป็นความรักที่หายาก เพราะทั้งสองคนต้องใช้ความพยายามในการสร้างมันขึ้นมา

ใครที่มีความรักประเภทนี้จะอยู่ด้วยกันได้นาน

และมีความสุขกับชีวิตคู่เป็นอย่างมาก

 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว

ความรักของคุณล่ะเป็นแบบไหน อย่าลืมพิมพ์บอกกันด้วยนะ

 

ขอขอบคุณที่มา จาก  psychologytoday, robertjsternberg