กฎหมายจราจรฉบับใหม่ ยกเลิกเงินรางวัลค่าปรับ ห้ามยึดใบขับขี่ ใช้ระบบตัดแต้ม แก้ไขเพิ่มปี 2561

เพื่อนๆ รู้กันหรือยังว่า จะมีกฎหมายจราจรฉบับใหม่ ยกเลิกเงินรางวัลค่าปรับ ห้ามยึดใบขับขี่ ใช้ระบบตัดแต้ม แก้ไขเพิ่มปี 2561

เรื่องนี้กำลังเป็นข้อถกเถียงในสังคมว่า การเพิ่มโทษสูงขึ้นอาจทำให้ กลายเป็นการเปิดช่องให้ตำรวจจจราจรเรียกรับผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ เรื่องนี้พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาส ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 3 ในฐานะกรรมการแก้ไขปัญหาจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บอกว่า

ร่าง พรบ.ฉบับนี้หากบังคับใช้ พนักงานสอบสวนไม่ได้เปรียบเทียบปรับ แต่การปรับจะอยู่ที่ดุลยพินิจของศาล โดยระบุว่า อยู่ระหว่างพิจารณายกเลิกส่วนแบ่งค่าปรับให้กับตำรวจจราจร เพื่อป้องกันข้อครหาว่าตำรวจจราจรเรียกรับผลประโยชน์ ซึ่ง ตอนนี้อยู่ในขั้นการพิจารณา คาดว่าแล้วเสร็จต้นปี 2562

สำหรับส่วนแบ่งค่าปรับจราจรปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ปรับ 100 บาท เงินจำนวน 50 บาท จะถูกส่งเข้าท้องถิ่น เข้ากองทุนค่าใช้จ่ายบำรุงด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจราจร 2 บาท 50 สตางค์ และอีก 47 บาท 50 สตางค์ เป็นส่วนแบ่งให้ตำรวจจราจร

ส่วนแนวคิดในของ ร่างกฎหมายใหม่ นางสุภา โชติงาม ผู้อำนวยการ สำนักกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก บอกว่า โทษปรับที่หนักขึ้น จะช่วยให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรียบร้อยแล้ว และกำลังนำเข้าสู่ ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณา 3 วาระต่อไป

ซึ่งหลังจากนี้คณะรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาและคาดว่าจะบังคับใช้เป็นกฎหมายซึ่งมีผลในปี 62 นี้

พล.ต.ต.เอกรักษ์ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล3ในฐานะคณะกรรมการแก้ไขกฎหมายจราจรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) กล่าวว่า

สตช.ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายจราจรเพื่อให้ประชาชนเคารพกฎหมายและลดอุบัติเหตุในประเทศไทย จึงมีการทบทวนนพมาตรการตัดคะแนนความประพฤติใบอนุญาตขับขี่กลับมาให้อีกครั้ง โดยจะมีการแก้ไขกฎหมายพรบ.จราจรทางบกม.142/1และม.142/2

ทั้งนี้ร่างกฎระเบียบแนวทางการปฏิบัติ และการควบคุมและบังคับอย่างรัดกุมมากที่สุด โดยขณะนี้แนวคิดดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทาง สตช. จะต้องจัดทำประชาพิจารณ์ฟังความเห็นประชาชนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด

สำหรับแนวทางบังคับมาตราการตัดคะแนน สตช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

ประชาชนที่มีใบอนุญาตขับขี่จะมีทั้งหมด 12 คะแนนโดยความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทั้งหมดทุกข้อหาจะมีแต้มกำหนดไว้ ซึ่งจะจำแนกกลุ่มข้อหาในการตัดคะแนนไว้ดังนี้

1.กลุ่มการกระทำแล้วส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่นน้อยเช่น ไม่สวมหมวกกันน็อคไม่คาดเข็มขัดนิรภัยถูกตัด 1 คะแนน

2. กลุ่มที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและสาธารณะชนปานกลางเช่น ขับรถฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศรถูกตัด 2 คะแนน

3. กลุ่มที่ส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเช่นดื่มแล้วขับ เสพยาเสพติดแล้วขับรถขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนดขับรถชนแล้วหนีถูกตัด 3 คะแนน

พล.ต.ต.เอกรักษ์กล่าวต่อว่า หากประชาชนถูกตัดคะแนนหมดทั้ง 12 แต้มจะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน และหากถูกพักใบอนุญาตขับขี่ติดต่อกัน3 ครั้ง ครั้งที่ 3 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดแล้วกลับมาใช้ใบอนุญาตขับขี่แต่ถูกตัดคะแนนหมด 12 แต้มอีกครั้งจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เป็นระยะเวลา 3 ปี

หลังจากนั้นจึงจะยื่นขอทำอนุญาตใบขับที่กับกรมการขนส่งได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากประชาชนกระทำความผิดแต่คะแนนยังไม่หมดภายใน 1 ปี คะแนนจะกลับเข้าสู่ระบบใหม่แต่หากไม่ต้องการรอจนครบ 1 ปี สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเจ้ารับการอบรมกับทางโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งฯ

และนำคะแนนมายื่นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้แจ้งว่าถูกตัดคะแนน คะแนนก็จะกลับเข้าระบบตามเดิม หลังจากนี้จะนำผลประชาพิจารณ์เสนอไปยังคณะกฤษฎีกาเพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายบังคับใช้เป็นกฎหมายคาดว่าจะมีผลในปี 62 นี้

 

แหล่งที่มา: ข่าว 3 มิติ