มะนาว (lime) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantifolia Swing วงศ์ส้มหรือ Rutaceae ชื่ออื่นคือ ส้มมะนาว มะลิว โกรยชะม้า หมากฟ้า
มะนาว เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย ก้านใบสั้น ใบเรียงสลับกลมรีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเล็กน้อย โคนและปลายใบมน ดอกขนาดเล็กมี 5 กลีบสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผลมะนาวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก น้ำคั้นผลมีรสเปรี้ยวจัด
ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ติดผลน้อยในช่วงหน้าแล้งและผลที่ได้จะมีน้ำน้อย เปลือกผลมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมแต่มีรสขม
มะนาว นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน
น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลาย ประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส
ภายในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึงร้อยละ 7 น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม การบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ที่ใช้มาแต่โบราณคือ ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นปัญหาของนักเดินเรือมาช้านานอันเกิดจากการขาดวิตามินซีนั่นเอง
น้ำมะนาวมีคุณค่าในการเป็นสารให้ความเปรี้ยว ผิวมะนาวมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย
มะนาวเป็นเครื่องปรุงรสอาหารไทยที่ขาดเสียไม่ได้ เป็นองค์ประกอบรสเปรี้ยวหลักของน้ำพริก ส้มตำ ยำทุกชนิด ลาบและอาหารไทยอีกอีกมากมาย ต่างประเทศใช้มะนาวทั้งในอาหารคาวหวาน เช่น ในพายมะนาวของรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
การใช้งานทางยา
เปลือกผล เปลือกผลแห้งมีรสขม ช่วยขับลมได้ดี รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือก ของผลสดมาประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ฝานเป็นชั้นบางๆ ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการหรือหลังอาหาร 3 เวลา
น้ำคั้นผลมะนาว ใช้แก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้ ใช้ผลสดคั้นน้ำได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย (หรือผสมน้ำผึ้ง 1 ส่วนน้ำมะนาว 3 ส่วน) แล้วจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงรส ให้เข้มข้นพอประมาณดื่มบ่อยๆ
ชาวฮังการีชงชาเติมน้ำผึ้งบีบมะนาว จิบแก้ไอ
เช้าหลังตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว บีบมะนาว 1/4 ผล (หรือใส่เกลือเล็กน้อย) บรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
น้ำมะนาวใช้ในด้านความงาม ผลัดเซลล์ผิว ลดรอยด่างดำ ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำแช่อาบ
น้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน ใช้ทาก่อนนอน แก้อาการกลาก เกลื้อน หิด
ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งทาตุ่มคัน แก้น้ำกัดเท้า
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารดี-ลิโมนิน (d-limonin) เป็นสารที่ทำให้เกิดความขมในน้ำมะนาว น้ำมันผิวมะนาว (lime oil) พบมากบริเวณผิวเปลือกมะนาวมีสารดี-ลิโมนิน เป็นองค์ประกอบหลักเกินกว่าร้อยละ 90 พบว่าน้ำมันผิวมะนาว มีคุณสมบัติป้องกันและรักษามะเร็งหลายชนิด
ชาวตะวันตกทั่วไปมักดื่มน้ำส้ม หรือน้ำจากผลพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ หรือมะนาว ประกอบกับอาหารเช้า น้ำผลไม้เหล่านี้มีวิตามินซี และมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ประกอบด้วยสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) รูทิน (rutin) และนาริงจิน (naringin) และลิโมนิน เป็นฟลาโวนอยด์หลักของพืชตระกูลส้ม จากนี้จะเรียกสารกลุ่มนี้ว่าฟลาโวนอยด์ส้ม (citrus bioflavonoid)
สารกลุ่มฟลาโวนอย์ส้มนี้มีรายงานทางการแพทย์ตะวันตกว่าใช้ในการรักษามาลาเรีย โรครูมาติสม์เรื้อรังและโรคเกาต์ ใช้ในการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และช่วยบรรเทาอาการระคายคอจากการติดเชื้อ
การกินฟลาโวนอยด์ส้มทำได้โดยกินส้ม ส้มโอ บีบมะนาวใส่เครื่องดื่ม และดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสด ถ้ากินผิวมะนาว ผิวส้มหรือเครื่องดื่มผิวมะนาวและส้มจะได้ฟลาโวนอยด์ส้มในปริมาณที่มากขึ้น
รักษาสมรรถนะร่างกาย
การศึกษาทางคลินิกตลอดปี พ.ศ.2505 พบว่านักกีฬายูโด ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และกรีฑาที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์ส้มติดต่อกันมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อน้อยกว่า ถ้าบาดเจ็บก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่า 2 เท่า
นอกจากนี้ การวิจัยทางคลินิกกับบุคคลที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือด พบว่าบุคคลที่ได้รับฟลาโวนอยด์ส้มวันละ 1 กรัมติดต่อกัน 8 สัปดาห์มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น มีแรงกว่าเดิม มีอาการปวดน้อยและมีอาการเหน็บชากลางคืนน้อยลง
ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
การแพทย์แผนจีนใช้มะนาวแห้งเป็นตัวยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมานานแล้ว
อิตาลี การศึกษาสัตว์ทดลองในหนู พบว่าเมื่อให้สารเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์หลักจากเปลือกในพืชตระกูลส้มกับหนูไขมันสูง มีผลเพิ่มไขมันที่ดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดปริมาณไขมันรวมและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูดังกล่าว และมีผลลดความดันเลือดและขับปัสสาวะในหนูความดันสูง
สหรัฐอเมริกา งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ฟลาโวนอยด์ส้มสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเฮสเพอริดิน และกลุ่มโพลีเมททอกซิเลตฟลาโวน (PMFs) มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในพลาสม่าของสัตว์ทดลอง ซึ่งสนับสนุนผลของงานวิจัยในหนูถีบจักรของแคนาดา
แคนาดา การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ฤทธิ์ดังกล่าวของฟลาโวนอยด์ส้มเกิดจากผลการกระตุ้นการทำงานของยีนรีเซปเตอร์ไขมันไม่ดี (แอลดีแอล) ในตับ ณ ตำแหน่งที่ควบคุมโดยสเตอรอล (sterol regulatory element, SRE)
สาธารณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยพบว่า นาริงจิน และเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของยีนอะดีโพเนกทิน (adiponectin) ซึ่งเป็นยีนสำคัญในเมตาบอลิซึมของกลูโคสและไขมันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลัคอุดตันของหลอดเลือดและกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษากล่าวว่าฟลาโวนอยด์ส้มทั้ง 2 ชนิดแสดงผลต้านการเกิดพลัคโดยกระตุ้น perovisome proliferator-activated receptor (PPAR) และยีนอะดีโพเนกทินในเซลล์ไขมันอะดีโพไซต์
นอกจากนี้ สารทั้งสองยังมีฤทธิ์เอสโทรเจนอย่างอ่อน มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ผนังหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นรีเซปเตอร์ของเอสโทรเจน จึงมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้สนับสนุนการกินมะนาว และฟลาโวนอยด์ส้มเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยทอง
กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็ง
อิหร่าน งานวิจัยพบว่า น้ำมะนาวเข้มข้น (concentrated lime juice, CLJ) มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์โมโนนิวเคลียร์ในระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนในน้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
การศึกษาในห้องทดลองในมลรัฐเท็กซัสและแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพอประมาณ แต่ต่ำกว่าฟลาโวนอยด์ในพืชตระกูลขิง
มีบทความทางการแพทย์กล่าวว่า ฟลาโวนอยด์ส้มยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมจากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองหลายชนิด แต่ยังไม่พบผลการศึกษาทางคลินิก
แปลกใจจริงนะ
เจ้าผลไม้พื้นๆ เรียกมะนาวนี้มีคุณค่าซ่อนไว้อย่างไม่คาดคิด เมื่อทราบเช่นนี้คงจะต้องไปลองกินไก่ตุ๋นมะนาวดอง จะได้ฟลาโวนอยด์ส้มจากเปลือกของมะนาวด้วย แล้วเพิ่มการดื่มน้ำมะนาว (ชนิดหวานน้อย) แทนน้ำอัดลม เพื่อสุขภาพที่ดีและหลอดเลือดที่แข็งแรงนะคะ
แหล่งข้อมูล…นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 354 เดือน/ปี: ตุลาคม 2551
คอลัมน์: บทความพิเศษ
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
อ้างอิง…https://www.doctor.or.th/article/detail/5777
มะนาว เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย ก้านใบสั้น ใบเรียงสลับกลมรีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเล็กน้อย โคนและปลายใบมน ดอกขนาดเล็กมี 5 กลีบสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผลมะนาวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก น้ำคั้นผลมีรสเปรี้ยวจัด
ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ติดผลน้อยในช่วงหน้าแล้งและผลที่ได้จะมีน้ำน้อย เปลือกผลมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมแต่มีรสขม
มะนาว นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน
น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลาย ประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส
ภายในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึงร้อยละ 7 น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม การบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ที่ใช้มาแต่โบราณคือ ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นปัญหาของนักเดินเรือมาช้านานอันเกิดจากการขาดวิตามินซีนั่นเอง
น้ำมะนาวมีคุณค่าในการเป็นสารให้ความเปรี้ยว ผิวมะนาวมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย
มะนาวเป็นเครื่องปรุงรสอาหารไทยที่ขาดเสียไม่ได้ เป็นองค์ประกอบรสเปรี้ยวหลักของน้ำพริก ส้มตำ ยำทุกชนิด ลาบและอาหารไทยอีกอีกมากมาย ต่างประเทศใช้มะนาวทั้งในอาหารคาวหวาน เช่น ในพายมะนาวของรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
การใช้งานทางยา
เปลือกผล เปลือกผลแห้งมีรสขม ช่วยขับลมได้ดี รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือก ของผลสดมาประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ฝานเป็นชั้นบางๆ ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการหรือหลังอาหาร 3 เวลา
น้ำคั้นผลมะนาว ใช้แก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้ ใช้ผลสดคั้นน้ำได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย (หรือผสมน้ำผึ้ง 1 ส่วนน้ำมะนาว 3 ส่วน) แล้วจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงรส ให้เข้มข้นพอประมาณดื่มบ่อยๆ
ชาวฮังการีชงชาเติมน้ำผึ้งบีบมะนาว จิบแก้ไอ
เช้าหลังตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว บีบมะนาว 1/4 ผล (หรือใส่เกลือเล็กน้อย) บรรเทาอาการท้องผูก และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย
น้ำมะนาวใช้ในด้านความงาม ผลัดเซลล์ผิว ลดรอยด่างดำ ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำสัปดาห์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำแช่อาบ
น้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน ใช้ทาก่อนนอน แก้อาการกลาก เกลื้อน หิด
ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งทาตุ่มคัน แก้น้ำกัดเท้า
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
สารดี-ลิโมนิน (d-limonin) เป็นสารที่ทำให้เกิดความขมในน้ำมะนาว น้ำมันผิวมะนาว (lime oil) พบมากบริเวณผิวเปลือกมะนาวมีสารดี-ลิโมนิน เป็นองค์ประกอบหลักเกินกว่าร้อยละ 90 พบว่าน้ำมันผิวมะนาว มีคุณสมบัติป้องกันและรักษามะเร็งหลายชนิด
ชาวตะวันตกทั่วไปมักดื่มน้ำส้ม หรือน้ำจากผลพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ หรือมะนาว ประกอบกับอาหารเช้า น้ำผลไม้เหล่านี้มีวิตามินซี และมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ประกอบด้วยสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) รูทิน (rutin) และนาริงจิน (naringin) และลิโมนิน เป็นฟลาโวนอยด์หลักของพืชตระกูลส้ม จากนี้จะเรียกสารกลุ่มนี้ว่าฟลาโวนอยด์ส้ม (citrus bioflavonoid)
สารกลุ่มฟลาโวนอย์ส้มนี้มีรายงานทางการแพทย์ตะวันตกว่าใช้ในการรักษามาลาเรีย โรครูมาติสม์เรื้อรังและโรคเกาต์ ใช้ในการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และช่วยบรรเทาอาการระคายคอจากการติดเชื้อ
การกินฟลาโวนอยด์ส้มทำได้โดยกินส้ม ส้มโอ บีบมะนาวใส่เครื่องดื่ม และดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสด ถ้ากินผิวมะนาว ผิวส้มหรือเครื่องดื่มผิวมะนาวและส้มจะได้ฟลาโวนอยด์ส้มในปริมาณที่มากขึ้น
รักษาสมรรถนะร่างกาย
การศึกษาทางคลินิกตลอดปี พ.ศ.2505 พบว่านักกีฬายูโด ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และกรีฑาที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์ส้มติดต่อกันมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อน้อยกว่า ถ้าบาดเจ็บก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่า 2 เท่า
นอกจากนี้ การวิจัยทางคลินิกกับบุคคลที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือด พบว่าบุคคลที่ได้รับฟลาโวนอยด์ส้มวันละ 1 กรัมติดต่อกัน 8 สัปดาห์มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น มีแรงกว่าเดิม มีอาการปวดน้อยและมีอาการเหน็บชากลางคืนน้อยลง
ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
การแพทย์แผนจีนใช้มะนาวแห้งเป็นตัวยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมานานแล้ว
อิตาลี การศึกษาสัตว์ทดลองในหนู พบว่าเมื่อให้สารเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์หลักจากเปลือกในพืชตระกูลส้มกับหนูไขมันสูง มีผลเพิ่มไขมันที่ดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดปริมาณไขมันรวมและไตรกลีเซอไรด์ ในหนูดังกล่าว และมีผลลดความดันเลือดและขับปัสสาวะในหนูความดันสูง
สหรัฐอเมริกา งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า ฟลาโวนอยด์ส้มสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเฮสเพอริดิน และกลุ่มโพลีเมททอกซิเลตฟลาโวน (PMFs) มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในพลาสม่าของสัตว์ทดลอง ซึ่งสนับสนุนผลของงานวิจัยในหนูถีบจักรของแคนาดา
แคนาดา การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ฤทธิ์ดังกล่าวของฟลาโวนอยด์ส้มเกิดจากผลการกระตุ้นการทำงานของยีนรีเซปเตอร์ไขมันไม่ดี (แอลดีแอล) ในตับ ณ ตำแหน่งที่ควบคุมโดยสเตอรอล (sterol regulatory element, SRE)
สาธารณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยพบว่า นาริงจิน และเฮสเพอริดินซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของยีนอะดีโพเนกทิน (adiponectin) ซึ่งเป็นยีนสำคัญในเมตาบอลิซึมของกลูโคสและไขมันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลัคอุดตันของหลอดเลือดและกระบวนการอักเสบ ผลการศึกษากล่าวว่าฟลาโวนอยด์ส้มทั้ง 2 ชนิดแสดงผลต้านการเกิดพลัคโดยกระตุ้น perovisome proliferator-activated receptor (PPAR) และยีนอะดีโพเนกทินในเซลล์ไขมันอะดีโพไซต์
นอกจากนี้ สารทั้งสองยังมีฤทธิ์เอสโทรเจนอย่างอ่อน มีผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์ผนังหลอดเลือดผ่านการกระตุ้นรีเซปเตอร์ของเอสโทรเจน จึงมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้สนับสนุนการกินมะนาว และฟลาโวนอยด์ส้มเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยทอง
กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็ง
อิหร่าน งานวิจัยพบว่า น้ำมะนาวเข้มข้น (concentrated lime juice, CLJ) มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์โมโนนิวเคลียร์ในระบบภูมิคุ้มกัน และโปรตีนในน้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
การศึกษาในห้องทดลองในมลรัฐเท็กซัสและแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ส้มมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพอประมาณ แต่ต่ำกว่าฟลาโวนอยด์ในพืชตระกูลขิง
มีบทความทางการแพทย์กล่าวว่า ฟลาโวนอยด์ส้มยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมจากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองหลายชนิด แต่ยังไม่พบผลการศึกษาทางคลินิก
แปลกใจจริงนะ
เจ้าผลไม้พื้นๆ เรียกมะนาวนี้มีคุณค่าซ่อนไว้อย่างไม่คาดคิด เมื่อทราบเช่นนี้คงจะต้องไปลองกินไก่ตุ๋นมะนาวดอง จะได้ฟลาโวนอยด์ส้มจากเปลือกของมะนาวด้วย แล้วเพิ่มการดื่มน้ำมะนาว (ชนิดหวานน้อย) แทนน้ำอัดลม เพื่อสุขภาพที่ดีและหลอดเลือดที่แข็งแรงนะคะ
แหล่งข้อมูล…นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 354 เดือน/ปี: ตุลาคม 2551
คอลัมน์: บทความพิเศษ
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ
อ้างอิง…https://www.doctor.or.th/article/detail/5777