ชะพลู มีเบต้าแคโรทีนสูง มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมปริมาณสูงมาก ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ กากใยอาหารสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้นบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ
ใบชะพลู ไม่ควรกินมากหรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะแคลเซียมสูงมาก จะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ถ้ากินใบชะพลูมากๆ ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางและถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกกินกับนอาหารที่มีโปรตีนสูง จะป้องกันโรคนิ่วได้ อาหารอะไรก็ตาม ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม คำว่า “เดินทางสายกลาง” ใช้ได้เสมอ
สรรพคุณ :
ผล – เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด
ราก ต้น ดอก ใบ – ขับเสมหะ
ราก – แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด
ทั้งต้น – แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– รักษาโรคเบาหวาน
วิธีและปริมาณที่ใช้
รักษาโรคเบาหวาน
ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 (หมายถึงทั้งต้นรวมราก) จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา
ข้อควรระวัง – จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย
แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
แก้บิด
ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว กินครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว
เมนูใบชะพลู
เมี่ยงใบชะพลู เมี่ยงปลาใบชะพลู ห่อหมกใบชะพลู แกงเขียวหวานปูใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู กินเป็นผักสดกับน้ำพริก อาหารรสจัดทั่วไป ฯลฯ
ข้อมูลทั่วไปของชะพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูป
ทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ทั้งต้น ราก
ความแตกต่างระหว่าง “ใบชะพลู” กับ “ใบพลู”
ชะพลู กับ พลู (ที่คนโบราณกินกับหมาก) ลักษณะใบคล้ายๆ กัน แต่พลูเลื้อยขึ้นที่สูง ชะพลูเลื้อยไปกับดิน ใบพลูมีรสจัดกว่า กลิ่นแรงกว่า ใบใหญ่กว่าชะพลู
อ้างอิง… www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772
ใบชะพลู ไม่ควรกินมากหรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะแคลเซียมสูงมาก จะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ถ้ากินใบชะพลูมากๆ ต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางและถูกขับออกทางปัสสาวะ หรือจะเลือกกินกับนอาหารที่มีโปรตีนสูง จะป้องกันโรคนิ่วได้ อาหารอะไรก็ตาม ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม คำว่า “เดินทางสายกลาง” ใช้ได้เสมอ
สรรพคุณ :
ผล – เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด
ราก ต้น ดอก ใบ – ขับเสมหะ
ราก – แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด
ทั้งต้น – แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– รักษาโรคเบาหวาน
วิธีและปริมาณที่ใช้
รักษาโรคเบาหวาน
ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 (หมายถึงทั้งต้นรวมราก) จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา
ข้อควรระวัง – จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย
แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
แก้บิด
ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว กินครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว
เมนูใบชะพลู
เมี่ยงใบชะพลู เมี่ยงปลาใบชะพลู ห่อหมกใบชะพลู แกงเขียวหวานปูใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู กินเป็นผักสดกับน้ำพริก อาหารรสจัดทั่วไป ฯลฯ
ข้อมูลทั่วไปของชะพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูป
ทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ทั้งต้น ราก
ความแตกต่างระหว่าง “ใบชะพลู” กับ “ใบพลู”
ชะพลู กับ พลู (ที่คนโบราณกินกับหมาก) ลักษณะใบคล้ายๆ กัน แต่พลูเลื้อยขึ้นที่สูง ชะพลูเลื้อยไปกับดิน ใบพลูมีรสจัดกว่า กลิ่นแรงกว่า ใบใหญ่กว่าชะพลู
อ้างอิง… www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772