การตักบาตรสามารถทำได้ทุกวัน ไม่จำเป็นต้องเป็นวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น แต่การที่เราทำบุญตักบาตรทุกวันไปนั้น เราทำถูกวิธีกันอยู่หรือเปล่า ? ใครยังไม่แน่ใจ อยากให้ลองอ่านบทความนี้ เพราะมีอาหารบางอย่างที่ไม่ควรใช้ใส่บาตรบ่อย เพราะอะไร เรามีคำตอบมาเฉลยค่ะ
เคล็ดลับดีๆๆสำหรับใครที่ชอบทำบุญตักบาตร ประเพณีที่คนไทยทำกันมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าหลายๆคนยังไม่รู้ว่า “มีสิ่งของบางอย่างที่ไม่ควรนำใส่บาตร” แต่เป็นสื่งที่คุณทำผิดๆกันบ่อย
ตามหลักพระธรรมวินัยที่ละเอียดอ่อนจริงๆมีข้อห้ามอยู่มากมาย มีอะไรบ้างลองมาดูกันค่ะ…
1) ข้าวสาร อาหารแห้ง เนื้อสด ไม่ควรใส่บาตร
ตามพระวินัยแล้ว…พระสงฆ์ไม่สามารถทำอาหารเองได้ และพระท่านไม่ควรเก็บอาหารไว้ข้ามวัน ถ้าจะถวายจึงควรเป็นของที่ฉันได้ทันที อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากถวายอาหารพวกนี้ควรถวายให้กับวัดเพื่อเก็บเข้าโรงทานจะเหมาะสมกว่า
2) ใส่เงินในบาตรไม่ได้เด็ดขาด!!
พระรับเงินถือว่าผิดพระธรรมวินัย หรืออาบัติ ชาวพุทธท่านใดอยากถวายปัจจัยควรนำไปถวายกับวัดหรือหยอดตามตู้จะดีกว่า
3) เนื้อต้องห้าม 10 ชนิด
โดยส่วนใหญ่เนื้อสัตว์เหล่านี้บ้านเราไม่ค่อยนิยมบริโภคกันอยู่แล้ว ดังนั้น อย่านึกอุตรินำเนื้อสัตว์เหล่านี้ไปใส่บาตรหรือถวายพระเด็ดขาด เนื้อต่างๆได้แก่
1. เนื้อมนุษย์ 2. เนื้อช้าง 3. เนื้อม้า 4. เนื้อสุนัข 5. เนื้องู 6. เนื้อราชสีห์ 7. เนื้อเสือโคร่ง 8. เสือเหลือง 9. เสือดาว 10.เนื้อหมี
4) ผลธัญพืชที่มีเมล็ด
ผลธัญพืชที่มีเมล็ด เป็นสิ่งที่ไม่ควรนำไปถวายพระหรือตักบาตร เพราะถือว่าเมล็ดเหล่านั้นยังสามารถให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าต้องการจะถวายควรจะต้องเอาเมล็ดออกก่อน หรือหั่นเป็นชิ้นให้พร้อมรับประทาน
5) ของหวาน ของมัน
แน่นอนว่าของหวานเป็นของที่ใครหลายคนชอบ แต่กินมากๆก็ทำลายสุขภาพเหมือนกันนะ จริงๆแล้วข้อนี้ไม่ได้ถือว่าผิดธรรมวินัยแต่อย่างใด
แต่เนื่องจากพระสงฆ์เป็นบุคคลที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานเยอะ ไม่ได้ออกกำลังกายหนักๆได้ จึงไม่ควรเลยที่จะถวายแกงกะทิมันๆ เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำหวาน ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้เป็นที่มาของโรคภัยต่างๆมากมาย ทั้งเบาหวาน ความดัน ไขมันในเส้นเลือด และอีกหลายๆโรคตามมาในอนาคต
มากไปกว่านั้น ก่อนใส่บาตรควรจุดธูป 3 ดอกกลางแจ้งเพื่อขอขมากรรม และหลังใส่บาตรอย่าลืมอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้ว ชาวพุทธทุกท่านจะได้ปฏิบัติตัวกันได้อย่างถูกต้อง และเมื่อทำถูกต้องคุณก็จะได้รับบุญกันไปแบบเต็มๆไงละคะ ข้อมูลข้างต้นก็คือในสมัยอดีต และอย่างว่าทุกอย่างก็เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ตามความสะดวกของผู้ให้และผู้รับ
เคล็ดลับดีๆๆสำหรับใครที่ชอบทำบุญตักบาตร ประเพณีที่คนไทยทำกันมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่เชื่อเถอะว่าหลายๆคนยังไม่รู้ว่า “มีสิ่งของบางอย่างที่ไม่ควรนำใส่บาตร” แต่เป็นสื่งที่คุณทำผิดๆกันบ่อย
ตามหลักพระธรรมวินัยที่ละเอียดอ่อนจริงๆมีข้อห้ามอยู่มากมาย มีอะไรบ้างลองมาดูกันค่ะ…
1) ข้าวสาร อาหารแห้ง เนื้อสด ไม่ควรใส่บาตร
ตามพระวินัยแล้ว…พระสงฆ์ไม่สามารถทำอาหารเองได้ และพระท่านไม่ควรเก็บอาหารไว้ข้ามวัน ถ้าจะถวายจึงควรเป็นของที่ฉันได้ทันที อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากถวายอาหารพวกนี้ควรถวายให้กับวัดเพื่อเก็บเข้าโรงทานจะเหมาะสมกว่า
2) ใส่เงินในบาตรไม่ได้เด็ดขาด!!
พระรับเงินถือว่าผิดพระธรรมวินัย หรืออาบัติ ชาวพุทธท่านใดอยากถวายปัจจัยควรนำไปถวายกับวัดหรือหยอดตามตู้จะดีกว่า
3) เนื้อต้องห้าม 10 ชนิด
โดยส่วนใหญ่เนื้อสัตว์เหล่านี้บ้านเราไม่ค่อยนิยมบริโภคกันอยู่แล้ว ดังนั้น อย่านึกอุตรินำเนื้อสัตว์เหล่านี้ไปใส่บาตรหรือถวายพระเด็ดขาด เนื้อต่างๆได้แก่
1. เนื้อมนุษย์ 2. เนื้อช้าง 3. เนื้อม้า 4. เนื้อสุนัข 5. เนื้องู 6. เนื้อราชสีห์ 7. เนื้อเสือโคร่ง 8. เสือเหลือง 9. เสือดาว 10.เนื้อหมี
4) ผลธัญพืชที่มีเมล็ด
ผลธัญพืชที่มีเมล็ด เป็นสิ่งที่ไม่ควรนำไปถวายพระหรือตักบาตร เพราะถือว่าเมล็ดเหล่านั้นยังสามารถให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าต้องการจะถวายควรจะต้องเอาเมล็ดออกก่อน หรือหั่นเป็นชิ้นให้พร้อมรับประทาน
5) ของหวาน ของมัน
แน่นอนว่าของหวานเป็นของที่ใครหลายคนชอบ แต่กินมากๆก็ทำลายสุขภาพเหมือนกันนะ จริงๆแล้วข้อนี้ไม่ได้ถือว่าผิดธรรมวินัยแต่อย่างใด
แต่เนื่องจากพระสงฆ์เป็นบุคคลที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานเยอะ ไม่ได้ออกกำลังกายหนักๆได้ จึงไม่ควรเลยที่จะถวายแกงกะทิมันๆ เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำหวาน ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้เป็นที่มาของโรคภัยต่างๆมากมาย ทั้งเบาหวาน ความดัน ไขมันในเส้นเลือด และอีกหลายๆโรคตามมาในอนาคต
มากไปกว่านั้น ก่อนใส่บาตรควรจุดธูป 3 ดอกกลางแจ้งเพื่อขอขมากรรม และหลังใส่บาตรอย่าลืมอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้ว ชาวพุทธทุกท่านจะได้ปฏิบัติตัวกันได้อย่างถูกต้อง และเมื่อทำถูกต้องคุณก็จะได้รับบุญกันไปแบบเต็มๆไงละคะ ข้อมูลข้างต้นก็คือในสมัยอดีต และอย่างว่าทุกอย่างก็เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ตามความสะดวกของผู้ให้และผู้รับ