เฟซบุ๊ค ภูมิแพ้ก็แพ้เรา อธิบายถึงเรื่องการใช้ยาแก้แพ้
แทนการใช้ยานอนหลับเอาไว้ว่า หลายคนเลยเลือกที่จะทานยาแก้แพ้
เพื่อให้นอนหลับง่าย เพราะยาแก้แพ้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน แต่จริงๆ
แล้วการใช้ยาไม่ตรงวัตถุประสงค์แบบนี้
จะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้างหรือไม่ มาดูคำตอบกันค่ะ
ยาแก้แพ้ กินแล้วง่วงนอน?
อันที่จริงแล้ว ยาแก้แพ้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ยาแก้แพ้ที่ทานแล้วง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) กับแบบที่ไม่ง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) หลายคนจะได้รับยาแก้แพ้เมื่อมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล และอาจได้รับยาแก้แพ้ไม่เหมือนกัน คุณหมออาจจะถามเราว่าอยากได้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงไหม เพื่อที่ทานแล้วจะได้ทำงานต่อได้ แม้ว่าอาจจะมีโอกาสที่ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงจะมีราคาสูงกว่ายาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วงอยู่เล็กน้อยก็ตาม แต่ในระยะหลังๆ เราจึงได้รับยาแก้แพ้ที่ทานแล้วไม่ง่วงมากกว่า
อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการเข้ารับบำบัดโรคนอนไม่หลับอย่างถูกวิธี แล้วหันเหมาซื้อยาแก้แพ้เพื่อทานแล้วทำให้ง่วง จะได้นอนหลับได้ เพราะยาแก้แพ้สามารถหาซื้อเองได้ง่ายตามร้ายขายยาต่างๆ ไม่เหมือนยานอนหลับที่ต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์
ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วง มีผลข้างเคียงหรือไม่?
ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วง อาจทำให้มีอาการคอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และหากเป็นผู้ป่วยโรคต้อหิน อาจทำให้อาการกำเริบได้
นอกจากนี้ยาแก้แพ้เป็นยาที่ควรใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น หากใครใช้ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วงไปนานๆ อาจทำให้มีอาการดื้อยาได้เช่นกัน
ยาแก้แพ้ ทานได้ทุกเพศทุกวัยจริงหรือ?
สำหรับยาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างชัดเจน ทั้งส่งผลต่อระบบประสาท กระสับกระส่าย ใจสั่น เห็นภาพหลอน ร้อนวูบวาบ หรืออาจถึงกับชักได้ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ทานยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) เพื่อรักษาอาการแก้แพ้ เช่น ผื่นขึ้น แพ้อากาศ เป็นลมพิษ เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ทำไมหลายคนถึงยังทานยาแก้แพ้แบบที่ทำให้ง่วงอยู่
เพราะหาซื้อทานได้ง่าย ราคาถูก และออกฤทธิ์เร็วกว่ายาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วไม่ง่วง แต่ถึงแม้ว่าจะออกฤทธิ์เร็วกว่า แต่ยาจะออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมง จึงต้องทาน 3 ครั้งต่อวัน แต่ยาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วไม่ง่วง นอกจากจะออกฤทธิ์นานเกือบ 24 ชั่วโมงแล้ว ยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก
แม้ว่าจะเป็นเพียงยาแก้แพ้ที่ดูจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่อาการดื้อยาก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก และการทานยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ ก็เป็นการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์อีกด้วย ดังนั้นถ้าอยากหายขาดจากอาการนอนไม่หลับ ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ตรงกับอาการจริงๆ จะดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค ภูมิแพ้ก็แพ้เรา
ภาพประกอบจาก istockphoto
ยาแก้แพ้ กินแล้วง่วงนอน?
อันที่จริงแล้ว ยาแก้แพ้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ยาแก้แพ้ที่ทานแล้วง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) กับแบบที่ไม่ง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) หลายคนจะได้รับยาแก้แพ้เมื่อมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล และอาจได้รับยาแก้แพ้ไม่เหมือนกัน คุณหมออาจจะถามเราว่าอยากได้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงไหม เพื่อที่ทานแล้วจะได้ทำงานต่อได้ แม้ว่าอาจจะมีโอกาสที่ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงจะมีราคาสูงกว่ายาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วงอยู่เล็กน้อยก็ตาม แต่ในระยะหลังๆ เราจึงได้รับยาแก้แพ้ที่ทานแล้วไม่ง่วงมากกว่า
อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการเข้ารับบำบัดโรคนอนไม่หลับอย่างถูกวิธี แล้วหันเหมาซื้อยาแก้แพ้เพื่อทานแล้วทำให้ง่วง จะได้นอนหลับได้ เพราะยาแก้แพ้สามารถหาซื้อเองได้ง่ายตามร้ายขายยาต่างๆ ไม่เหมือนยานอนหลับที่ต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์
ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วง มีผลข้างเคียงหรือไม่?
ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วง อาจทำให้มีอาการคอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และหากเป็นผู้ป่วยโรคต้อหิน อาจทำให้อาการกำเริบได้
นอกจากนี้ยาแก้แพ้เป็นยาที่ควรใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น หากใครใช้ยาแก้แพ้แบบทานแล้วง่วงไปนานๆ อาจทำให้มีอาการดื้อยาได้เช่นกัน
ยาแก้แพ้ ทานได้ทุกเพศทุกวัยจริงหรือ?
สำหรับยาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1) เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างชัดเจน ทั้งส่งผลต่อระบบประสาท กระสับกระส่าย ใจสั่น เห็นภาพหลอน ร้อนวูบวาบ หรืออาจถึงกับชักได้ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ทานยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 2) เพื่อรักษาอาการแก้แพ้ เช่น ผื่นขึ้น แพ้อากาศ เป็นลมพิษ เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ทำไมหลายคนถึงยังทานยาแก้แพ้แบบที่ทำให้ง่วงอยู่
เพราะหาซื้อทานได้ง่าย ราคาถูก และออกฤทธิ์เร็วกว่ายาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วไม่ง่วง แต่ถึงแม้ว่าจะออกฤทธิ์เร็วกว่า แต่ยาจะออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมง จึงต้องทาน 3 ครั้งต่อวัน แต่ยาแก้แพ้แบบที่ทานแล้วไม่ง่วง นอกจากจะออกฤทธิ์นานเกือบ 24 ชั่วโมงแล้ว ยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก
แม้ว่าจะเป็นเพียงยาแก้แพ้ที่ดูจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่อาการดื้อยาก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก และการทานยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ ก็เป็นการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์อีกด้วย ดังนั้นถ้าอยากหายขาดจากอาการนอนไม่หลับ ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ตรงกับอาการจริงๆ จะดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค ภูมิแพ้ก็แพ้เรา
ภาพประกอบจาก istockphoto