ยาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท
การเลือกใช้ยาก็ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคด้วย
หรือบางทีเราอาจไม่ต้องใช้ยาเลยก็ได้ถ้าอาการปวดเมื่อย ปวดอักเสบ
ไม่ได้กระทบต่อการทำงาน หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน
ความแตกต่างของยาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อแต่ละรูปแบบ
1.แบบกิน มักถูกสั่งจ่ายในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น หรือในกรณีที่อาการหนักจริงๆ เพราะการกินจะเป็นการดูดซึมตัวยาได้เต็มที่ ตัวยาจะถูกดูดซึมไปตามกระแสเลือด เนื้อเยื่อ และไปยังจุดที่มีการอักเสบด้วย ทำให้การอักเสบทุเลาลงได้รวดเร็ว แต่ถ้าเจ็บหรือปวดเล็กน้อย แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมันรักษาได้ไม่ตรงจุด และอาจมี ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพราะมันเป็นยาที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด
ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์
2.แบบทา มีทั้งในรูปแบบครีมและเจล จะแตกต่างกันตรงที่ความเข้มข้น และตัวยารองที่ผสม เช่นบางชนิดผสมเมนทอลหรือยูคาลิปตัส หรืออาจมีแอลกอฮอล์ผสม เพื่อเป็นตัวทำละลายให้มีการดูดซึมเข้าผิวหนัง ส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกร้อน-เย็น (ไม่แนะนำให้ใช้สูตรร้อน เพราะความร้อนจะไปกระตุ้นอาการอักเสบในกรณีที่มีความอักเสบอยู่แล้ว) และจะมีการดูดซึมตัวยาประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ ของยาที่รับเข้าไป ซึ่งน้อยกว่าแบบกิน แต่จะออกฤทธิ์ได้ตรงจุดเพราะเราทาตรงบริเวณที่มีอาการปวดอักเสบโดยตรง แต่ข้อเสียคือเลอะมือ เลอะเสื้อผ้า (ถ้าเจ็บในจุดใต้ร่มผ้า) เก็บรักษาและพกพายาก
3.แบบสเปรย์ สเปรย์บรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ทั้งแบบร้อน-เย็น, อัดแก๊ส-ไม่อัดแก๊ส ข้อดีของรูปแบบสเปรย์จะคล้ายๆ แบบทา คือรักษาได้ตรงจุด แต่ที่ดีกว่า คือดูดซึมไวกว่า ทำให้แห้งง่ายไม่เลอะมือเวลาใช้งาน และพกพาสะดวก
4.แบบสเปรย์ที่ผสมยาชา ใช้ในกรณีบาดเจ็บฉุกเฉิน มักใช้กับนักกีฬาเพราะสามารถลดอาการปวดได้อย่างเฉียบพลัน แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการรักษา เมื่อหมดฤทธิ์จากอาการชาก็จะกลับมาปวดเหมือนเดิม
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดอักเสบกล้ามเนื้อควรใช้ภายใต้การดูแลของเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้น หากอาการปวดอักเสบไม่บรรเทาลงเลยภายใน 2 สัปดาห์หลังการใช้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
เรียบเรียงโดย
วีระเดช ผเด็จพล Nutrition & Exercise Specialist
Certified Strength & Conditioning Specialist, NSCA.
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bit.ly/2fvQHV7
www.facebook.com/unirenspray
ความแตกต่างของยาบรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อแต่ละรูปแบบ
1.แบบกิน มักถูกสั่งจ่ายในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น หรือในกรณีที่อาการหนักจริงๆ เพราะการกินจะเป็นการดูดซึมตัวยาได้เต็มที่ ตัวยาจะถูกดูดซึมไปตามกระแสเลือด เนื้อเยื่อ และไปยังจุดที่มีการอักเสบด้วย ทำให้การอักเสบทุเลาลงได้รวดเร็ว แต่ถ้าเจ็บหรือปวดเล็กน้อย แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมันรักษาได้ไม่ตรงจุด และอาจมี ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพราะมันเป็นยาที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด
ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์
2.แบบทา มีทั้งในรูปแบบครีมและเจล จะแตกต่างกันตรงที่ความเข้มข้น และตัวยารองที่ผสม เช่นบางชนิดผสมเมนทอลหรือยูคาลิปตัส หรืออาจมีแอลกอฮอล์ผสม เพื่อเป็นตัวทำละลายให้มีการดูดซึมเข้าผิวหนัง ส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกร้อน-เย็น (ไม่แนะนำให้ใช้สูตรร้อน เพราะความร้อนจะไปกระตุ้นอาการอักเสบในกรณีที่มีความอักเสบอยู่แล้ว) และจะมีการดูดซึมตัวยาประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ ของยาที่รับเข้าไป ซึ่งน้อยกว่าแบบกิน แต่จะออกฤทธิ์ได้ตรงจุดเพราะเราทาตรงบริเวณที่มีอาการปวดอักเสบโดยตรง แต่ข้อเสียคือเลอะมือ เลอะเสื้อผ้า (ถ้าเจ็บในจุดใต้ร่มผ้า) เก็บรักษาและพกพายาก
3.แบบสเปรย์ สเปรย์บรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ทั้งแบบร้อน-เย็น, อัดแก๊ส-ไม่อัดแก๊ส ข้อดีของรูปแบบสเปรย์จะคล้ายๆ แบบทา คือรักษาได้ตรงจุด แต่ที่ดีกว่า คือดูดซึมไวกว่า ทำให้แห้งง่ายไม่เลอะมือเวลาใช้งาน และพกพาสะดวก
4.แบบสเปรย์ที่ผสมยาชา ใช้ในกรณีบาดเจ็บฉุกเฉิน มักใช้กับนักกีฬาเพราะสามารถลดอาการปวดได้อย่างเฉียบพลัน แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการรักษา เมื่อหมดฤทธิ์จากอาการชาก็จะกลับมาปวดเหมือนเดิม
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดอักเสบกล้ามเนื้อควรใช้ภายใต้การดูแลของเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้น หากอาการปวดอักเสบไม่บรรเทาลงเลยภายใน 2 สัปดาห์หลังการใช้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
เรียบเรียงโดย
วีระเดช ผเด็จพล Nutrition & Exercise Specialist
Certified Strength & Conditioning Specialist, NSCA.
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bit.ly/2fvQHV7
www.facebook.com/unirenspray