กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะนำประชาชนป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ขอให้ดื่มน้ำสะอาดบรรจุขวด รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่
ล้างมือฟอกสบู่หรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์หลังจากเข้าห้องน้ำ
และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ชี้หากมีอาการท้องเสีย ห้ามกินยาหยุดถ่าย เนื่องจากจะทำให้เชื้ออยู่ร่างกายนาน อาการอาจรุนแรงขึ้น แนะให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่แทน
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของประชาชน ที่เดินทางไปถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และใช้บริการที่หน่วยแพทย์ต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณท้องสนามหลวงและใกล้เคียง 38 แห่ง พบว่าประชาชนเกิดอาการท้องเสียทุกวัน อย่างเช่นวันที่ 26 ตุลาคม 2559 พบ 45 ราย วันที่ 25 ตุลาคม พบ 34 ราย ส่วนใหญ่พบในช่วงเช้าจนถึงเที่ยงคืน จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของมือ อาหารและน้ำดื่ม
สำหรับสาเหตุโรคท้องเสีย เกิดมาจากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหาร และภาชนะใส่อาหารและน้ำสกปรกหรือมีเชื้อโรคปะปน อาการสำคัญของโรคนี้คือ ถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย โดยอาการอาจมีเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรง โรคนี้จะมีผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่จำนวนมากและรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอ่อนเพลีย จนทำให้ช็อกหมดสติ ถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
เรื่องที่ต้องระมัดระวังคือ เมื่อเกิดท้องเสียแล้วไม่ควรซื้อ ยาหยุดถ่ายมากิน เนื่องจากยาหยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว และเก็บกักเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุไว้ในลำไส้นานขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกำจัดเชื้อโรคได้ช้าลง และเป็นผลเสีย ทำให้ท้องอืด ปวดแน่นท้องมากขึ้น และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
การดูแลที่ถูกต้องคือ ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊กหรือน้ำข้าว เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และดื่มสารละลายเกลือแร่ (Oral rehydration salts, ORS) เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ที่เสียไปจากการท้องเสีย
ซึ่งวิธีการรับประทานเกลือแร่ที่ถูกต้องคือ จิบในปริมาณน้อยๆ ไปเรื่อยๆ แต่จิบบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง หากอาการยังไม่ดีขึ้น และรู้สึกอ่อนเพลียมาก หน้ามืดหรือวิงเวียนเวลาเปลี่ยนท่าทางจากนั่งเป็นยืน ตาลึกบุ๋ม ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลดลง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อยและมาก ควรไปพบแพทย์
สำหรับการป้องกันโรคท้องเสีย คือ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปจากมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่มีส่วนประกอบของกะทิซึ่งบูดเสียได้ง่าย ดื่มน้ำสะอาดบรรจุขวด และก่อนการบริโภคทุกครั้ง ขอให้สังเกตวันหมดอายุ และสภาพของอาหารว่ามีกลิ่นและสีเป็นปกติหรือไม่
ที่มาข่าวโดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของประชาชน ที่เดินทางไปถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และใช้บริการที่หน่วยแพทย์ต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณท้องสนามหลวงและใกล้เคียง 38 แห่ง พบว่าประชาชนเกิดอาการท้องเสียทุกวัน อย่างเช่นวันที่ 26 ตุลาคม 2559 พบ 45 ราย วันที่ 25 ตุลาคม พบ 34 ราย ส่วนใหญ่พบในช่วงเช้าจนถึงเที่ยงคืน จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของมือ อาหารและน้ำดื่ม
สำหรับสาเหตุโรคท้องเสีย เกิดมาจากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหาร และภาชนะใส่อาหารและน้ำสกปรกหรือมีเชื้อโรคปะปน อาการสำคัญของโรคนี้คือ ถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย โดยอาการอาจมีเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรง โรคนี้จะมีผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่จำนวนมากและรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอ่อนเพลีย จนทำให้ช็อกหมดสติ ถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
เรื่องที่ต้องระมัดระวังคือ เมื่อเกิดท้องเสียแล้วไม่ควรซื้อ ยาหยุดถ่ายมากิน เนื่องจากยาหยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว และเก็บกักเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุไว้ในลำไส้นานขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกำจัดเชื้อโรคได้ช้าลง และเป็นผลเสีย ทำให้ท้องอืด ปวดแน่นท้องมากขึ้น และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
การดูแลที่ถูกต้องคือ ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊กหรือน้ำข้าว เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และดื่มสารละลายเกลือแร่ (Oral rehydration salts, ORS) เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ที่เสียไปจากการท้องเสีย
ซึ่งวิธีการรับประทานเกลือแร่ที่ถูกต้องคือ จิบในปริมาณน้อยๆ ไปเรื่อยๆ แต่จิบบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง หากอาการยังไม่ดีขึ้น และรู้สึกอ่อนเพลียมาก หน้ามืดหรือวิงเวียนเวลาเปลี่ยนท่าทางจากนั่งเป็นยืน ตาลึกบุ๋ม ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลดลง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อยและมาก ควรไปพบแพทย์
สำหรับการป้องกันโรคท้องเสีย คือ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปจากมือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่มีส่วนประกอบของกะทิซึ่งบูดเสียได้ง่าย ดื่มน้ำสะอาดบรรจุขวด และก่อนการบริโภคทุกครั้ง ขอให้สังเกตวันหมดอายุ และสภาพของอาหารว่ามีกลิ่นและสีเป็นปกติหรือไม่
ที่มาข่าวโดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ